ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เปิด ” ป่าหิมพานต์ ”

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 08:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 11:19

+ สัตว์ประเภทสิงห์ (ต่อ)

- ไกรสรนาคา

ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ ไกรสรนาคาเป็นสิงห์ผสมที่มีส่วนประกอบของนาคด้วย หางเหมือนสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ตัวมีลักษณะคล้ายสิงห์ แต่มีเกล็ดแข็งปกคลุมทั่วกาย


      
- ไกรสรปักษา



ไกรสรปักษาเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก. ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย


- โลโต



โลโต มีร่างกายเป็นสิงห์สีน้ำตาล ลักษณะเด่นคือมีเท้าแบบกรงเล็บ ชื่อโลโต เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ไม่ททราบว่าจริงๆแล้วแปลว่าอะไร แต่ในภาษาจีนคำว่า โลโต แปลว่าอูฐ

- พยัคฆ์ไกรสร



พยัคฆ์ไกรสรมีส่วนประสมระหว่างสิงห์กับเสือ ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนเสือลายพาดกลอน หรือเสือเบงกอล ส่วนตัวเป็นแบบสิงโต ตามจริงแล้วในโลกมนุษย์ ก์็มีสัตว์ที่มี ลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน นั่นก็คือ "Liger-ไลเกอร์" (สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นสิงโต และมีแม่เป็นเสือ) หรือ "Tigon-ไทกอน" สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นเสือ และมีแม่เป็นสิงโต)




- สางแปรง

สางแปรงมีกายเป็นสีเหลือง และมีเท้าเป็นแบบกรงเล็บ คำโบราณไทยให้ความหมายของคำว่า "สาง" ไว้หลายแบบ บ้างก็แปลว่าเสือ บ้างก็แปลว่าช้าง



- สกุณไกรสร



สกุณไกรสรมีผิวกายเป็นสีน้ำตาล ส่วนหัวเป็นเหมือนนก ส่วนตัวเป็นสิงห์ยังมีสัตว์อีกชนิดในป่าหิมพานต์ที่คล้ายคลึงกับ สกุณไกรสร นั่นก็คือ ไกรสรปักษา ข้อแตกต่างระหว่างสัตว์ทั้ง ๒ ชนิดคือ สกุณไกรสรไม่มีปีกเหมือนไกรสรปักษา





- สิงฆ์



นอกเหนือจากที่มีอธิบายไว้ว่ามีกายสีม่วงอ่อน สิงฆ์มีลักษณะเหมือนราชสีห์ทั่วไป


- สิงหคาวี


สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะผสมระหว่างสิงโต และวัว. ในรูปจิตรกรรมไทย มักวาดไกรสรคาวีเป็นสัตว์ที่มีช่วงหัวเป็นวัว และมีร่างเป็น สิงโต. จิตรกรบางท่านวาดไกรสรคาวีเป็นสิงห์ที่มีหัวเป็นวัว แต่มีหางเหมือนม้า



      
- สิงหคักคา

สิงหคักคา หรือสีหะคักคามีกายเป็นเกล็ดสีม่วงเข้ม แม้จะมีส่วนหัวและตัวเป็นสิงห์ กลับมีเท้าเหมือนช้าง
      
- สิงหพานร

สิงหพานรมีขนกายสีแดง ช่วงบนมีลักษณะเป็นวานรรหรือลิง ส่วนช่วงล่างและหางมีลักษณะของสิงห์ แต่ช่วงเท้ากลับมี ลักษณะเหมือนอุ้งเท้าลิง


      
- สิงโตจีน

สิงโตจีนเX็นสัตว์ที่ไทยเราได้มาจากประเทศจีน สิงโตจีนโดยปกติ จะมีขนปกคลุมยาวต่างจากสิงห์ชนิอื่น ในประเทศไทย ท่านสามารถพบสิงโตจีนได้ทั่วไปตามวัดวาอาราม หรือ แม้กระทั่งศาลเจ้่าจีนเกือบทุกแห่ง


      
- สีหรามังกร

สิงห์ชนิดนี้มีหัวเป็นมังกร มีร่างเป็นสิงห์สีน้ำตาล คนทั่วไปมักจำสีหรามังกรสับสนกับไกรสรจำแลง


      
- เทพนรสีห์

เทพนรสีห์เป็นสัตว์ผสมที่มีกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ส่วนท่อนล่างเป็นสิงห์ แต่ในบางตำราก็ว่ามีช่วงล่างเป็นกวาง ตัวเมียเรียกว่า "อัปสรสีห์"




- ฑิชากรจตุบท

ฑิชากรจตุบทเป็นสิงห์ที่มีลักษณะของนก คำว่า จตุบท มาจากคำว่าจตุ ซึ่งแปลว่า ๔ และ คำว่า บท มาจากคำว่า บาท ซึ่งหมายถึง เท้า

ส่วนคำว่าฑิชากรแปลว่านก ในตำราบรรยายว่า สัตว์ชนิดนี้มีกายสีเขียวอ่อน ส่วนหางมีสีเหลือง


      
- โต

โตมีลักษณะคล้ายสิงห์แต่ส่วนหัวมีเขา ๒ เขา ว่ากันว่าชื่อ โตนี้ได้มาจากชื่อสัตว์ในตำนานของประเทศลาว
- โตเทพสิงฆนัต


โตเทพสิงฆนัต เป็นสัตว์ตระกูลสิงห์ มี กายสีน้ำตาล ชื่อของสัตว์ชนิดนี้มาจากคำว่า โต และ สิงฆนัต ทั้งสองคำ มีความหมาย พ้องหันคือ แปลว่าสิงโต
      

- ทักทอ

ทักทอเป็นสัตว์ประหลาดอีกชนิดแห่งโลกหิมพานต์ มีกายท่อนล่างเป็นสิงห์ ส่วนหัวเป็นช้าง ผู้อ่านมักสับสนกับคชสีห์ เพราะทั้งคู่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จุดต่างของสัตว์ทั้งสองคือ ทักทอมีเครา และผมตั้งไปข้างหน้า





12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 10:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 11:19

+ สัตว์ประเภทม้า

      

- ดุรงค์ไกรสร

ดุรงค์ไกรสรมีลักษณะคล้ายกับ โตเทพอัสดร กล่าวคือทั้งคู่ เป็นสัตว์ผสมระหว่าง สิงห์กับม้า ตามตำนาน ดุรงค์ไกรสรมีกายเป็นม้าสีแดง มีหางสีดำ กีบสีดำเหมือนม้า ส่วนหัวเป็นสิงฆืที่มีลักษณะสง่า ชื่อ “ดุรงค์ไกรสร” มาจากคำบาลีโบราณ ๒ คำคือ “ดุรงค์” ซึ่งคือสายพันธุ์หนึ่งของม้า และคำว่า“ไกรสร” ซึ่งก็คือสิงห็นั่นเอง .

ดุรงค์ไกรสรเX็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร อาหารที่กิน ก็คือสัตว์นานาชนิดในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นกวาง หรือวัวควาย ลักษณะเด่นของดุรงค์ไกรสรคือ สามารถวิ่งได้เร็วดุจม้าและ มีความแข็งแรงอย่างสิงห์


- ดุรงค์ปักษิณ
ตามตำราดุรงค์ปักษิณคือม้าที่มีปีกและหางเหมือนนก มีกายสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนขนคอ กีบและหางมีสีดำสนิท คำว่าดุรงค์ไกรสรมาจากคำ ๒ คำคือ ดุรงค์ ซึ่งคือหนึ่งในสี่สายพันธุ์ม้าและ ปักษิณ ที่แปลว่านก

สัตว์หิมพานต์อีกชนิดที่เหมือนสัตว์ชนิดนี้คือ ม้าปีก ทั้งคู่คล้ายกันมากจะต่างก็เพียงแต่ม้าปีก มีหางดุจดั่งม้าทั่วไป หาใช่หางแบบนกไม่

ค้านตะวันตกเองก็มีม้าติดปีกในตำนานเช่นกัน ที่รู้จักกันดีก็คือ เปกาซัสม้าแห่งตำนานเทพของกรีก



- เหมราอัสดร
เหมราอัสรมีรูปกายเป็นม้า ส่วนหัวเป็นเหม ตัวเหมนั้น บางที่ก็วาดออกมาเป็นแบบนกหงส์ บางที่ก็วาดออกมา ปากเหมือนสัตว์ประเภทจระเข้



- ม้า
ตามตำนานของศาสนาฮินดู เทพแ่งลมได้สร้างม้าขึ้นมา ๔ สายพันธุ์คือ วลาหค อาชาไนย สินธพมโนมัย และอัสดร ม้าทั้ง ๔ มีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ วันหนึ่งม้าทั้งสี่นี้ได้บุกเข้าไปในเขตของ พระศิวะเพื่อที่จะพบกับม้าสาว ๒ ตัวที่พระอุมาเทวี (มเหสีของพระศิวะ) เลี้ยงไว้ แต่เคราะห์ร้ายโดนผู้เฝ้าสวรรค์จับได้ ม้าทั้ง ๔ จึงถูกตัดเอ็นข้อเท้าที่ทำให้มีฤทธิ์บินได้ จากนั้นองค์ศิวะเจ้าจึงสาปให้มาเป็นทาสรับใช้มนุษย์ตลอดกาล



- ม้าปีก
ม้าปีก นอกจากจะมีในตำนานสัตว์หิมพานต์แล้วยัง มีปรากฎในตำนานอื่นเช่นตำนานม้าปีกเปกาซัสของ กรีก หรือตำนานม้าบินของจีน ถึงแม้รายละเอียดต่างๆ ของม้าปีกในแต่ละตำนานจะมี ความแตกต่างกันบ้าง เช่นม้าเปกาซัสมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่โดยหลักแล้วจะมีลักษณะร่วมคือ มีร่างกายและ ส่วนหัวเป็นม้า มีปีก ๑ คู่ ปีกคู่นี้มีความแข็งแรงมาก และสามารถทำให้ม้าปีกบินได้อย่างรวดเร็ว นอกจากม้าปีกแล้ว สัตว์หิมพานต์์ที่มีลักษณะ ผสมระหว่างม้าและนกก็มี ดุรงค์ปักษิณ เหมราอัสดร และอัสดรวิหค



- งายไส
งายไส เป็นสัตว์ผสมชนิดหนึ่งในป่สหิมพานต์ ชื่อ งายไสนั้น เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ผู้ประพันธ์เองได้ พยายามหาที่มาของ ชื่อนี้แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามาจาก ไหนและแปลว่าอะไร แต่ในตำนานได้บรรยายว่างายไสมีลักษณะผสมระหว่างสิงห์กับม้า โดยมีหัวเป็นสิงห์ มีเขาบนหน้าผาก ๒ ข้าง บ้างก็เชื่อว่างายไสมีหัวเป็น กิเลน มีลักษณะแบบม้าจากช่วงคอลงมา มีสีเขียวคราม เป็นสีพื้น งายไสเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร

สัตว์ที่งายไสล่าเป็นเหยื่อ มีตั้งแต่สัตว์เล็กจนไปถึงสัตว์ใหญ่ บางครั้งก็ล่ามนุษย์เป็นอาหาร คนส่วนใหญ่มักจำงายไส สลับกับดุรงค์ไกรสรเพราะสัตว์ทั้ง ๒ ประเภทมีร่างเป็นม้าและมีส่วนหัว เป็นสัตว์ประเภทสิงห์ จะต่างก็เพียงแต่หัวของดุรงค์ไกรสรไม่มีเขา



- สินธพกุญชร
สินธพกุญชรมีกายเป็นม้าสีเขียว แต่ส่วนหัวกลบเป็น ช้าง ในตำรากล่าวว่ามีกีบสีดำเหมือนม้าเช่นกัน



- สินธกนธี
สินธพนัทธี เป็นสัตว์หิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาป คำว่าสินธพนัทธีหมายถึงม้าแม่ น้ำ โดยรากศัพท์แล้วมาจาก คำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ สายหนึ่งในประเทศอินเดีย ส่วนคำว่า “นที” มีความ หมายตามตัวว่าน้ำ ม้าสินธพนี้มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก สามารถวิ่งไปบน ใบบัวได้ โดยที่ใบบัวไม่สั่นแม้แต่น้อย คำว่า “สินธุ” เองเป็นชื่อเมืองโบราณในอินเดียด้วย คาดว่าเมืองสินธุก็คือ รัฐสินธในปัจจุบันนั่นเอง เหตุที่ ใช้ชื่อเมืองนี้คงเป็นเพราะเมืองนี้ มีชื่อเสียงทางม้า ม้าดีจึงมีชื่อว่า สินธพ สินธพนัทธี มีตัวเป็นม้า หางเป็นปลา พื้นสีขาว ครีบและหางมีสีแดงชาด




- โตเทพอัสดร
โตเทพอัสดร เป็นสัตว์หิมพานต์แบบผสมระหว่างสิงโตกับม้า มีลักษณะทั่วไปเหมือนดุรงค์ไกรสร กล่าวคือมีหัวเป็นสิงโต และมีร่างเป็นม้า แต่เมื่อพิจารณาลึกๆแล้วมีความแตกต่างจาก ดุรงค์ไกรสร โดยโตเทพอัสดรมีร่างกายเป็นม้าสีแสด หางและกีบสีแดงชาด หัวเป็นสิงโต คอ หลังและขนสร้อยคอสีเขียว คำว่า “อัสดร” มาจากภาษาสันสกฤต “อสฺสตร” หมายถึง ม้าดี หรือสัตว์ผสมที่เกิดจากพ่อที่เป็นลา และแม่ที่เป็นม้า โตเทพอัสดรเป็นสัตว์ล่าเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับ ดุรงค์ไกรสร สัตว์ที่เป็นเหยื่อของโตเทพอัสดรมีตั้งแต่ สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ในป่าหิมพานต์เช่นกวาง วัว ควาย





- อัสดรเหรา
อัสดรเหราเป็นสัตว์ผสมระหว่างสัตว์ตระกูลม้าและเหรา ในตำรากล่าวว่ามีผิวกายสีม่วงอ่อน สัตว์ตระกูลเหรานั้น บางทีก็วาดเหมือนจระเข้ บ้างก็วาดออกมาเหมือนมังกร




- อัสดรวิหค
อัสดรวิหค เป็นม้าผสมที่เกิดจากม้าและนก ร่างกายเป็นม้ามีสีเหลืองเป็นสีพื้น ส่วนหัวเป็นนก มีขนคอเป็นสีส้มแดง ปีกมีสีแดงชาด กีบและหางมีสีดำ อัสดรวิหคสามารถ เหาะเหินเดินอากาศได้เพราะ ปีกที่มีพละกำลังมหาศาล เช่นเดียวกับม้าผสมประเภทมีปีกเช่น ม้าปีกและดุรงค์ปักษิณ อัสดรวิหคเป็นสัตว์ที่กิน ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร อาหารหลักของอัสดรวิหคได้แก่ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ตัวเล็กๆ และ เมล็ดพืช

13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 11:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 12:43

+ สัตว์ประเภทแรด


คำว่า “ระมาด” ในภาษาเขมรแปลว่าแรด ระมาดเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ มาจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่อาจจะเพี้ยนไปบ้าง เพราะระมาด หรือแรดเป็นสัตว์ ป่าหายาก ศิลปินไทยในสมัยโบราณไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ระมาดหน้าตาเป็นอย่างไร จึงได้แต่วาดตามคำอธิบาย ระมาดที่ปรากฎในศิลปะไทยจึงดูคล้ายกับตัวสมเสร็จ ซึ่งมีจมูกเป็นงวงสั้นๆ ดูน่าจะเป็นพันธุ์ Malayan Tapir ที่มีอยู่ในเขตตะวันตกของประเทศไทย


ตามประวัติศาสตร์แล้วคนไทยในกรุงเทพฯ มีโอกาส ได้เห็นแรดตัวจริงก็เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าเมืองน่านส่ง ลูกแรดถวายตัวหนึ่ง จากนั้นรูปแรดที่ในตำรา สัตว์หิมพานต์ก็ถูกยกเลิกไป ไม่เขียนแบบสมเสร็จอีก นอกจากนี้ ระมาดยังเป็นพาหนะทรงของพระอัคนี เทพเจ้าแห่งไฟ ของศาสนาฮินดู

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 11:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 12:47

+ สัตว์ประเภทช้าง

- เอราวัณ
ในเรื่องรามายณะ และ ความเชื่อของศาสนาฮินดู กล่าวถึงพระอินทร์มีร่างสีเขียว มีพาหนะเป็นช้าง ๓ เชือก เชือกหนึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า เอราวัณ เชือกหนึ่งพระพรหมป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า คีรีเมขล์ไตรดายุค และอีกเชือกหนึ่งพระวิษณุเป็นผู้ ประทานให้ชื่อว่า เอกทันต์ ช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีพละกำลังมากที่สุดในหมู่ ช้างทั้ง ๓ เชือก และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ของพระอินทร์ เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จ ไปไหนเอราวัณเทพบุตร ก็จะแปลงกายเป็นช้างเผือก ขนาดสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ มี ๓๓ เศียร แต่ละเศียรมีงา ๗ งา งาแต่ละงายาวถึง ๔ ล้านวา

งาแต่ละงามีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบ ๗ กลีบ มี ๗ เกสร แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ ๗ หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี ๗ ชั้น แต่ละชั้นมี ๗ ห้อง แต่ละห้องมี ๗ บัลลังค์ แต่ละบัลลังค์มีเทพธิดาสถิต ๗ องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ ๗ นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมีนางทาสีนางละ ๗ ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมดประ มาณ ๑๙๐,๒๔๘,๔๓๓ นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ ๑๓,๓๓๑,๖๖๙,๐๓๑ นาง เศียรทั้ง ๓๓ ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดา สถิตเศียรละ ๑ องค์ โดยปกติศิลปินไทยมักจะทำช้าง เอราวัณ เป็นช้าง ๓ เศียร




- กรินทร์ปักษา
กรินทร์ปักษา หรือช้างบินมีผิวกายที่ดำสนิท ส่วนปีกและหางเป็นอย่างนกและมีสีแดงชาด ปีกและ หางช่วยให้กรินทร์ปักษาสามารถบินได้อย่างคล่อง แคล่วและรวดเร็ว นอกจากส่วนปีกและหางแล้ว กรินทร์ปักษามีลักษณะ ที่ไม่ต่างจากช้างทั่วไปนัก โดยมีงาคู่หนึ่งเอาไว้ใช้ใน การปกป้องตัว และหักกิ่งไม้หรือพืชผัก ส่วนงวงมีไว้หยิบจับสิ่งของ ดื่มน้ำ ดมกลิ่นและทำให้เกิดเสียงร้อง คาดว่ากรินทร์ปักษาเมื่อโตเต็มที่ จะมีช่วงตัวยาวประ- มาณ ๓.๓ เมตร (๑๑ ฟุต) และหนักประมาณ ๕.๔ ตัน




- วารีกุญชร
คนทั่วไป มักจำวารีกุญชรสลับกับกุญชรวารี เพราะสัตว์หิมพานต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากศัพท์มาจากคำ บาลี ๒ คำที่เหมือนกัน เพียงแต่คำเรียงลำดับสลับกัน เท่านั้น รากศัพท์ทั้ง ๒ ที่กล่าวถึงคือคำว่า “วารี” มีความหมายตามตัวว่าน้ำ โดยปกติจะใช้แทนน้ำทะเล และคำว่า “กุญชร” ซึ่งแปลว่าช้าง สัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นสัตว์ประสม ระหว่างช้างกับปลา เราสามารถแยกแยะระหว่าง วารีกุญชรและกุญชรวารีได้ค่อนข้างง่าย โดยที่วารีกุญชรนั้นมีร่างกายเกือบทั้ง ตัวเป็นช้าง จะมีก็แต่อวัยวะบางส่วนที่กลายมาจาก สัตว์ประเภทปลาเช่น ครีบบนแผ่นหลัง ครีบเท้า และครีบหาง ส่วนกุญชรวารีนั้น มีช่วงตัวท่อนแรกเป็นช้าง ช่วงหลัง เป็นปลา กล่าวคือกุญชรวารี มีเท้าเพียง ๒ ข้าง ลำตัวและหางเป็นปลาหมด สัตว์ทั้ง ๒ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเล สามารถว่ายและดำ น้ำได้ดีเยี่ยม




- ช้างเผือก
ตำนานเกี่ยวกับช้างเผือกมีอยู่คู่คนไทยมาช้านาน
ในตำนานพุทธประวัติ กล่าวว่าช้างเผือกนั้นคือสัญลักษณ์แห่งความรู้ และ การเกิด คืนก่อนวันประสูติของพระพุทธเจ้า พระมารดาของพระองค์ทรงสุบิณท์ ถึงช้างเผือก มอบดอกบัวให้พระนาง ดอกบัวอันหมายถึงความบริสุทธิ์และความรู้
ตำนานไตรภูมิ มีบทหนึ่งกล่าวถึงช้างเผือกว่า:

" มหาราชมีครบซึ่งสิ่ง ๗ ประการ ภริยาที่สมบูรณ์ ขุมสมบัติคณานับ ผู้ปรึกษาแผ่นดินที่ดี ม้าที่วิ่งเร็ว กฎการปกครองที่ดี แก้วแหวนอันเป็นสิ่งสำคัญ และช้างเผือกที่สง่างาม"

เชื่อกันว่าช้างเผือกมีอิทธฤทธิ์เหนือช้างสามัญ ว่ากันว่ามีพลังดุจเทพแห่งสงคราม สำหรับกษัตริย์ของ ประเทศไทยและพม่าแล้ว การได้ครอบครองช้างเผือก เป็นอะไรที่สำคัญยิ่ง องค์ใดที่มีช้างเผือกหลายตัว จะเป็นกษัตริย์ ที่เกรียงไกร และจะนำพาบ้านเมืองสู่ความรุ่งโรจน์ หากช้างเผือกสิ้น ก็เป็นลางบแกเหตุเภทถัยแก่ ตัวกษัตริย์และแผ่นดินที่ปกครอง

ราชันย์ในยุคก่อนจึงมุ่งมั่นที่จะได้ช้างเผือกมาอยู่ในความครอบครอง องค์ใดมีมากตัวก็สามารถให้ราชาเมืองอื่นเป็นของขวัญ เพื่อความเป็นมิตร ในบางคราก็มีการก่อสงครามแย่งชิงช้างเผือกก็มี

ในประเทศไทย ช้างเผือกเคยเป็นสัญลักษณของประเทศ เพราะเชื่อว่าสัตว์ชนิดนี้ศักดิ์สิทธิ์


ตำนานไตรภูมิ มีบทหนึ่งกล่าวถึงช้างเผือกว่า:" มหาราชมีครบซึ่งสิ่ง ๗ ประการ ภริยาที่สมบูรณ์ ขุมสมบัติคณานับ ผู้ปรึกษาแผ่นดินที่ดี ม้าที่วิ่งเร็ว กฎการปกครองที่ดี แก้วแหวนอันเป็นสิ่งสำคัญ และช้างเผือกที่สง่างาม"  เชื่อกันว่าช้างเผือกมีอิทธฤทธิ์เหนือช้างสามัญ ว่ากันว่ามีพลังดุจเทพแห่งสงคราม สำหรับกษัตริย์ของ ประเทศไทยและพม่าแล้ว การได้ครอบครองช้างเผือก เป็นอะไรที่สำคัญยิ่ง องค์ใดที่มีช้างเผือกหลายตัว จะเป็นกษัตริย์ ที่เกรียงไกร และจะนำพาบ้านเมืองสู่ความรุ่งโรจน์ หากช้างเผือกสิ้น ก็เป็นลางบแกเหตุเภทถัยแก่ ตัวกษัตริย์และแผ่นดินที่ปกครอง ราชันย์ในยุคก่อนจึงมุ่งมั่นที่จะได้ช้างเผือกมาอยู่ในความครอบครอง องค์ใดมีมากตัวก็สามารถให้ราชาเมืองอื่นเป็นของขวัญ เพื่อความเป็นมิตร ในบางคราก็มีการก่อสงครามแย่งชิงช้างเผือกก็มี  ในประเทศไทย ช้างเผือกเคยเป็นสัญลักษณของประเทศ เพราะเชื่อว่าสัตว์ชนิดนี้ศักดิ์สิทธิ์ แม้ปัจจุบันความเชื่อนี้ก็คงอยู่ ในรูป เรียกว่าช้างเผือกเขียว จะยกตัวอย่างจากตำราดูช้างมีช้างตระกูลอัคนิพงศ์ ช้างศุภลักษณ์ชื่อ”เทพคีรี”ตามตำราว่าไว้ดังนี้
”ช้างหนึ่งทรงนามลักขณา สมบูรรณกายา ประเสริติพร้อมดูดี
มีนามชื่อเทพคีรี กายนั้นดังศรี ภูเขาอันเขียวสดใส
เป็นช้างมงคลฦาไกร ควรคู่แต่ไท ธิราชเจ้าธรณี"
จริงๆแล้วช้างสีเขียวในตำราช้างยังมีอีกมากมาย แต่ขอเอ่ยไว้แต่เพียงเท่านี้

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 11:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 11:26

+ สัตว์ประเภทวัวควาย


- มังกรวิหค
มังกรวิหคเป็นสัตว์ ๔ ขาที่มีลักษณะของ มังกร นก และวัว ผสมกัน ส่วนหัวมีลักษณะของมังกร ส่วนตัวเป็นวัว มีสีม่วง มีปีกและหางเหมือนนก


- ทรพี / ทรพา
มียักษ์อยู่ตนหนึ่งชื่อ "นนทกาล" มีหน้าที่เป็นยามเฝ้าประตูวังสวรรค์ ของพระศิวะ (เขาไกรลาส) ยักษ์ตนนี้ได้ทำผิดกฏ โดยการปลุกปล้ำนางฟ้านาม "มาลี" นางฟ้าได้นำเรื่องทูล ต่อองค์ศิวะเจ้า พระศิวะทรงกริ้วจึงสาป ให้ยักษ์ไปเิดเป็นควาย มีนามว่า "ทรพา" และจะต้องถูกสังหารโดยลูกของตัวเอง ผู้มีชืื่อว่า "ทรพี" หลังจากนั้นถูกจะพ้นคำสาป
  
นนทกาลเกิดเป็นควาย หลายเมีย มันจะฆ่าลูกชายทีีจะเกิดทุกตัว เมียทรพาตัวหนึ่ง หนีไปและได้คลอดลูกที่อื่น ควายตัวนี้ ได้รับการเลี้ยงดูโดยเทวดา เทวดาได้ตั้งชื่อควายตัวนี้ว่า "ทรพี" ทุกวันทรพีจะวัดขนาดกีบของมันกับของพ่อ เมื่อใหญ่เท่ากันจึงถือว่าพร้อมที่จะสู้ ท้ายสุดทรพา ก็ถูกลูกของ ตนฆ่าตาย

สำนวนไทย คำว่า "ทรพี" หมายถึงคนที่ไม่รู้จักคุณบิดามารดา
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 11:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 11:28

+ สัตว์ประเภทลิง

- กบิลปักษา
กบิลปักษาเป็นสัตว์ประหลาดกึ่งนกกึ่งลิง โดยมีปีกนกติดอยู่ที่หัวไหล่ และ มีหางเหมือนนก โดยปกติระบายสีกายเป็นสีดำ



- มัจฉานุ
มัจฉานุเป็นสัตว์ที่มีกายเป็นลิงมีหางเป็นปลา มัจฉานุเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นบุตรของตัวละครหลัก หนุมาน กับนางเงือกชื่อ นางสุวรรณมัจฉา
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 11:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
+ สัตว์ประเภทสุนัข

Little’s known about Khi Mee. In old paintings, Khi Mee has yellowish dog like body with thick neck fur and a bushy tail. There are, howver, many different types of Khi Mee. Hence they look different from the painted version on this page.

Omnivorous in nature, Khimee belongs to Canine group of animal. Most of these animals hunt alone, but some catch their food in pack. Khi Mee has keen sense of smell and strong legs built for hunting. The main diets for Khi Mee are smaller animals such as squirrels, rabbits, etc. When sick, a Khi Mee has a way to heal himself by eating grass much like modern day dogs.
18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 11:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 13:59

+ สัตว์ประเภทนก


- อสูรปักษา

Asoon Puksa is a bird based creature which has the upper body of a giant and the lower (from torso down) body of a bird. Some say its lower body is that of a rooster. Believed to be carnivorous in nature due to its upper body characteristics of giant race. The creature is able to fly at great great speed and prey on large animals such as deer, horses, and even humans.


- อสุรวายุพักตร์

อสุรวายุภักษ์ ครึ่งนกยักษ์ครึ่งนกอินทรีย์ ลำตัวท่อนบนเป็นยักษ์ ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎน้ำเต้า มีกาบรับบัวแวง แต่ในตำรานี้เขียนเป็นมงกุฎยอดชัย ท่อนล่างเป็นนกอินทรีย์ พื้นกายสีน้ำเงินบางตำราว่าสีเขียว ในขบวนแห่เรือทางชลมารค มีเรื่อชื่อ อสุรวายุภักษ์ จัดเป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือกระบวนเขียนลายทอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และมีการซ่อมแซมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฎอยู่ทุกครั้งที่มีการเห่เรือ
      

- ไก่

Chicken or rooster is one of the few creatures in the Himmapan world that generally doesn't get mixed with other creatures. There are a few kinds of cock in the mythical forest namely Gai Tang Kia, Gai Xe Chuan, and Gai Hox Ian. From the sound of the names, the roosters are probably have their roots from Chinese culture.
      

- นกการเวก
ปักษาสวรรค์ (Birds of paradise) หรือนกการเวก จัดอยู่ในวงศ์ Paradisaeidae มีจำนวนทั้งหมด 43 ชนิด ลำตัวค่อนข้าง อ้วนป้อมมีขนาดเท่านกเอี้ยงจนถึงอีกา ความยาวลำตัวรวมทั้งหาง 12.5- 100 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนในที่ราบต่ำจนถึงยอดเขา พบมี จำนวนชนิดมากที่สุดบนเกาะนิวกินีและมีอีกไม่กี่ชนิดในหมู่เกาะโมลุกกัส และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย
           นกการเวกมีทั้งชนิดที่กินผลไม้ ใบไม้และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหารและชนิดที่กินแมลงและสัตว์เล็กๆ อื่นๆเป็นอาหาร พฤติกรรมการ ผสมพันธุ์ วางไข่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด พวกที่อยู่เป็นคู่จะช่วยกันทำรังและดูแลลูกในรัง ส่วนพวกที่นกตัวผู้มีขนสีสวยกว่านกตัวเมียมาก มักมีนกตัวเมียหลายตัว และนกตัวเมียเป็นผู้ดูแลลูกนกแต่เพียงตัวเดียว รังของนกการเวกก็แตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดเช่นเดียวกัน สร้างรังเป็นรูป ถ้วยด้วยใบไม้ ใบเฟิร์น กิ่งไม้ และเถาวัลย์บนง่ามไม้หรือในโพรงไม้ วางไข่ สีครีม สีเทา หรือสีชมพู และมีจุดประสีน้ำตาลแดง ครั้งละ 1-3 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 17-21 วัน ลูกนกจะอยู่ในรังนาน 17-30 วัน นกการเวก ตัวผู้จะโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 4-7 ปี
             เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีของนกการเวกคือความหลากหลายในการแสดงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของนกตัวผู้ เพื่อให้นกตัวเมียตกลงปลงใจจับคู่ อยู่ด้วย บางชนิดใช้การเกาะอยู่กับที่แล้วห้อยหัวลงพร้อมทั้งแพนขนปีกและ ขนหางที่ยาวกว่าปกติออก แล้วกระพือหรือสั่นไปมาพร้อมกับส่งเสียงร้อง ไปด้วย บางชนิดลงไปกางปีกและหางบนพื้นดิน
             ในอดีตนกการเวกถูกล่าเพื่อเอาขนที่สวยงามไปใช้เป็นเครื่อง ประดับหมวกในทวีปยุโรป ปัจจุบันได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด ยกเว้น การล่าด้วยอาวุธโบราณของชาวพื้นเมืองเพื่อเอาขนไปประดับร่างกายใน การทำพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ยังคงมีการลักลอบ ล่านกการเวกแล้วสตัฟฟ์ส่งออกขายอยู่เนืองๆ นอกจากนี้พื้นที่ป่าที่อาศัยก็ลด ปริมาณลงไปอีกด้วย เนื่องจากการขยายพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เมือง

      

- ครุฑ

ครุฑ เป็นสัตว์หิมพานต์ ในเทพนิยายที่เราค่อนข้างคุ้นหูคุ้นตาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่เราพบเห็นกันอยู่เสมอตามที่ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นหน้าธนาคาร ห้างร้านบางแห่ง บนธนบัตร บนเรือพระที่นั่ง ฯลฯ โดยเฉพาะในสถานที่หรือทรัพย์สินทางราชการ วรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เช่น เรื่องอุณรุท แต่ที่คนไทยรู้จักกันดี ก็คือครุฑในเรื่องกากี อย่างไรก็ตาม  แม้คนส่วนใหญ่จะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับครุฑมาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ยังไม่ค่อยทราบประวัติของครุฑ ดังนั้น  กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่องของ “ครุฑ” จากส่วนหนึ่งในสารานุกรมของเสฐียรโกเศศ ปราชญ์เอกของไทยมาเล่าให้ฟัง ดังนี้
            ครุฑ เป็นพญานกที่มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี  เป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี และนางวินตา  พระกัศยปมุนีเป็นฤษีที่มีอำนาจมากตนหนึ่ง  นอกจากนางวินตาแล้ว ก็ยังมีนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่น้องกับนางวินตาเป็นภริยาอีกคน  โดยนางกัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก และต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา  ต่อมานางได้คลอดลูกออกมาเป็นไข่สองฟอง คือ อรุณ และครุฑ  ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของสุริยเทพ   ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดว่ากันว่า มีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตาเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ  เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย  รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ  ครั้งหนึ่งนางกัทรูและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าที่เกิดคราวกวนเกษียรสมุทร โดยว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี  นางวินตาทายว่าม้าสีขาว แต่นางกัทรูทายว่าสีดำ   ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบในอุบายเลยยอมแพ้ ต้องเป็นทาสและถูกขังอยู่ในแดนบาดาลถึงห้าร้อยปี  ทำให้ครุฑและนาคต่างก็ไม่ถูกกันนับแต่นั้น    ครั้นต่อมาครุฑได้ทราบความจริงถึงอุบายของนางกัทรู  แต่เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑจึงได้ทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่อยู่กับพระจันทร์มาให้  ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก  แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น แต่ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ  ยกเว้นพระวิษณุเท่านั้นที่ไม่แพ้ แต่ก็แย่ไปเหมือนกัน  ดังนั้นต่างจึงทำความตกลงหย่าศึก  โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ  และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์  ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า  นี่เองจึงเป็นที่มาว่าเหตุใดครุฑจึงเป็นพาหนะของพระวิษณุ ส่วนหม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ได้ตามมาขอคืน ครุฑก็บอกว่าตนต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส  และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง  เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา (และว่าได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา ๒-๓หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์  ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวัง จึงถูกคมหญ้าคาบาดกลางเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้)   ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตาแม่ครุฑให้เป็นอิสระ  ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อจะมากินน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคไม่ได้กิน และยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ดี มีเรื่องเล่าต่อมาว่า จากการที่พระอินทร์ได้ให้พรครุฑ จับนาคเป็นอาหารได้นั้น ทำให้พญานาควาสุกรีเกรงว่านาคจะสูญพันธุ์ จึงตกลงจะส่งนาคไปให้ครุฑกินที่ชายหาด วันหนึ่งถึงคราวของนาคหนุ่มชื่อสังขจูทะ จะต้องไปเป็นเหยื่อ แม่ก็ตามมาด้วยความรักและอาลัย ขอรัองอย่างไรก็ไม่ยอมกลับ  วิทยาธรตนหนึ่งชื่อว่า ชีมูตวาหน เป็นผู้มีใจบุญสุนทานตัดแล้วซึ่งโลกีย์วิสัย ได้มาพบ ก็สอบถามได้ความแล้ว จึงเสนอตัวเองปลอมเป็นนาคให้ครุฑกินแทน ปรากฏว่าขณะที่ครุฑกำลังกินนาคปลอม แทนที่จะแสดงความเจ็บปวด ชีมูตวาหนกลับแสดงความปลื้มใจจนครุฑผิดสังเกตว่าต้องผิดตัวแน่   แต่สอบถามก็ไม่ยอมรับ ขณะนั้นเองนาคสังขจูทะก็ได้มาแสดงตัว ว่าตนคือเหยื่อของครุฑ เมื่อทราบความจริง ครุฑก็เกิดความสำนึกบาป และซาบซึ้งในความเสียสละของชีมูตวาหน    จึงวิ่งเข้าไปในกองไฟหมายจะฆ่าตัวตายเพื่อชำระบาป แต่ชีมูตวาหนได้ร้องห้าม  และว่าหากจะหยุดทำบาปก็ให้เลิกกินนาคเป็นอาหารต่อไป  ครุฑก็เชื่อและได้เหาะไปนำน้ำอมฤตมาประพรมกระดูกนาคที่ตนเคยจิกกินมาแต่กาลก่อน  จนนาคทั้งหมดได้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่
            ครุฑมีชายาชื่ออุนนติหรือวินายกา  โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัมพาที และชฎายุ  ตามวรรณคดีพุทธศาสนากล่าวว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ ๑๕๐ โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่ เกิดมืดมนและทำลายบ้านเมืองให้หมดสิ้นไปได้ ที่อยู่ของครุฑเรียกว่า สุบรรณพิภพเป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ครุฑมีชื่อเรียกหลายนาม เช่น กาศยปิ และเวนไตย อันเป็นชื่อสืบมาจากกัศยปและวินตา บิดามารดา สุบรรณ หมายถึง ผู้มีปีกอันงาม ครุตมาน เจ้าแห่งนก  สิตามัน มีหน้าสีขาว รักตปักษ์ มีปีกแดง เศวตโรหิต มีสีขาวและแดง สุวรรณกาย มีกายสีทอง  คคเนศวร เจ้าแห่งอากาศ  ขเคศวร  ผู้เป็นใหญ่แห่งนก  นาคนาศนะ ศัตรูแห่งนาค  สุเรนทรชิต ผู้ชนะพระอินทร์  เป็นต้น
            นอกจากตำนานข้างต้นแล้ว ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง  โดยเฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์  ดังนั้น  ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์  จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์  ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น  ซึ่งจากการที่เราใช้ “ตราครุฑ” เป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล  ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย  เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ  ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า “ธงมหาราช” เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๔  ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ ๓ ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค  เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค   และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน
            นอกเหนือจากการที่ “ตราครุฑ” ปรากฏในส่วนราชการต่างๆแล้ว   ในภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย  โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต” ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้  แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย  ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน ปัจจุบันการขอพระราชทานตราตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง  เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต  ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล  สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯตาย หรือเลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ





      

- หงส์

เป็นนกในป่าหิมพานต์ มีเสียงไพเราะ ผิดกับหงส์หรือ swan ของฝรั่งซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่อยู่ในน้ำ ขนมีสีขาวหรือสีดำ และไม่มีเสียง หงส์ของไทยซึ่งได้คติความเชื่อมาจากเทพปกรณัมอินเดีย ว่าเป็นพาหนะของพระพรหม เป็นนกที่มีรูปงาม มีศักดิ์สูง มักถือตัว ไม่คบหาปะปนกับนกอื่น หงส์จึงมักนำมาใช้เปรียบเทียบชั้นของบุคคลที่มีชาติกำเนิดและมีศักดิ์สูง ซึ่งต้องรักษาเกียรติของตนไว้ไม่ทำให้มัวหมอง รูปหงส์นิยมทำเป็นประติมากรรมประดับพุทธศาสนสถาน เช่น ประดับหน้าบัน ประดับหัวเสา ทำแท้ทวย ทำเป็นราวเทียน หรือ ทำเป็นเรือ เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ส่วนจีนก็มีนกทิพย์ เรียกในสำเนียงแต้จิ๋วคล้ายกันว่า หง มีลักษณะแตกต่างจากหงส์ของอินเดีย ฝรั่งแปล หง ของจีนว่า phoenix หงเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายพญาลอ ตามรูปที่นิยมวาดเป็นรูปครึ่งนกยูงครึ่งพญาลอ มีสีสลับกันเป็นห้าสี หงเป็นเครื่องหมายของพระราชินีของจีน ส่วน phoenix เป็นนกในนิยายของฝรั่ง อาศัยอยู่ในทะเลทรายอาหรับ มีอายุยืน ๕-๖ ศตวรรษ แล้วจะเผาตัวเองไหม้เป็นเถ้าถ่าน และเถ้านั้นจะกลับกลายเป็นนก phoenix หนุ่มตัวใหม่ซึ่งจะมีอายุยืนต่อไปอีก ๕-๖ ศตวรรษ


      

- หงส์จีน

A Hong Jean looks quite different from its Thai cousin. It doesn't look like a swan at all. In fact, it's more akin to peacock.

In Chinese, this creature is called "Ho-Ho". The legned describes this creature as a luck bringer. The belief of this creature spread throguhout the region all the way to Japan where Japanese call this bird "Ho" or "Ho-o". In some text, the "Ho" bird is also known by another name, "Feng" and is a dweller of heavern. This bird would come to Earth every 1,000 years.

The creature has multi-color feathers including red, yellow, blue, black, and white. Each color represent a different meaning. The over all meaning is virtue, beauty, witm honesty, and politeness.
This creature also represens longevity and luck. Furthermore, the chirping of this bird is described as music from heaven.

      

- คชปักษา

Kocha Puksa is a bird based creature with several parts from other animals. Kocha Puksa has white body color with the head of an elephant, with lower body of a swan or Hongsa, and the torso and arms like a Garuda.
      

- มยุระคนธรรพ์

- มยุระเวนไตย


Mayura Wane Tai is a mixed creature with traits from a peacock and a Garuda.
      

- มังกรสกุณี

Mungkorn Sagunee is a mixed creature with the head of a dragon and the body of a bird.
      

- นาคปักษี


- นาคปักษิณ

Nak Puksin is a mixed creature between a Naga and a Hongsa.Though the creature's name is similar to another Himmapan creature, Nak Puksee, the two are totally different. Nak Puksin has red color with the head of a Naga and the body of a Hongsa.
      

- นกหัสดี

เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยายว่า อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ รูปตัวส่วนใหญ่เป็นนก เว้นแต่จงอยปากเป็นงวงอย่าง งวงช้าง ชื่อนกหัสดีลิงค์ไม่ค่อยปรากฎในเทวนิยาย คนส่วนมากทราบเรื่องนกขนาดใหญ่ในนิยายก็มี เช่น หงส์ พญาครุฑ นกหัสดิน สำหรับนกหัสดินบ้างก็ว่า รูปร้างเป็นนกทั้งตัว ใหญ่โต ขนาดโฉบเฉี่ยวเอาช้างในป่าไปกินเป็นอาหารได้ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับนกหัสดีลิงค์นกที่มีจงอยปากเป็นงวงช้างนี้(แต่ในรูปนี้มีงวงเป็นช้าง)ถ้าเป็นนกหัสดีลิงค์ ปรากฏในภาษาบาลีว่า หัตดีลิงค์สกุโณ (หัตดี คือ ช้าง ลิงค์ แปลว่า เพศ สกุโณ แปลว่า นก) ในภาษาสันสกฤต คือ หัสดิน ลิงคะ แปลอย่างเดียวกัน ไทยเลือกใช้คำว่า หัสดีลิงค์ แปลกที่คำนี้ไม่มีในปทานุกรม กรมตำรากระทรวงธรรมการ พิมพ์ พ.ศ.2470 ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และ พ.ศ.2525 ค้นคว้าต่อไปพบในอักขราภิธานศรันท์ ของหมอปรัดเล พิมพ์ พ.ศ.2416 หน้า 328 และพบในปทานุกรม บาลีไทย-อังกฤษ-สันสกฤต ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2513 หน้า 867 หรือแม้ในบาลีสยามอภิธานของนาคะประทีป เรียบเรียงไว้ พ.ศ.2465 ก็มีปรากฏคำนี้อยู่ แสดงว่าคนไทยเรารู้จักคำนี้มานาน พจนานุกรมภาคอีสาน - ภาคกลาง ฉบับปฏิธาน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส) ก็รักษาคำนี้ไว้ ชาวอีสานรุ่นเก่า รู้จักนกหัสดีลิงค์ โดยเหตุที่งานศพเจ้านายผู้ใหญ่ พระเถระผู้ใหญ่ หรืองานศพท่านผู้มีวาสนาบารมีสูงยิ่ง มักจัดงานศพโดยสร้างรูปนกหัสดีลิงค์ มีพิธีบวงสรวงก่อนสร้างรูปนก นกนั้นขนาดใหญ่ รองรับหีบศพได้ นิยมสร้างในวัดใกล้บ้านผู้ตาย จัดหาช่างและวัสดุเครื่องสังเวยให้พร้อม เพียงแต่เริ่มสร้าง ก็เป็นที่สนใจของคนทั่วไป นกนั้นสร้างแบบมีชีวิต เช่น หันศีรษะได้ งวงม้วนได้ ตากระพริบ หูกระดิก มีเสียงร้องได้ด้วย หลังนกมีที่ว่างพอสำหรับพระภิกษุนั่งอ่านคัมภีร์หน้าศพไปด้วย พิธีต้องจัดกระบวนญาตินุ่งขาวห่มขาวตามหลังศพ มีฆ้องดนตรีธงต่างๆ ถ้ามีเครื่องยศของผู้ตาย ก็ต้องเข้าขบวนด้วย
          เนื่องจากศพแต่ละงานมีฐานะต่างกัน บางงานกำหนดเผาที่วัด บางงานกำหนดเผาที่ทุ่งกลางเมือง การนำศพเคลื่อนจากที่ตั้งกระบวนไปยังที่เมรุ เขานิยมใช้ตะเฆ่รองรับฐานของนกหัสดีลิงค์ มีเชือก  3 สายผูกที่ฐานล่างของนกให้ญาติและชาวบ้านชักลากไป ถ้าเป็นศพเจ้าเมืองหรือศพพระเถระผู้ใหญ่สมัยเก่า เขาเล่ากันว่า คนทั้งเมืองมาช่วยกันลากศพนั้นๆผช้าๆ งานใหญ่ๆ เช่นนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ โรงทาน น้ำกินน้ำใช้ ต้องบริบูรณ์ตลอดงาน ครั้นศพถึงเมรุ ผู้เข้าพิธีในงานจัดกำลังไว้ยกนกหัสดีลิงค์ที่บรรจุหีบศพเข้าเทียบในเมรุ วัตถุประสงค์ในการทำนกหัสดีลิงค์ คือ นกใหญ่เช่นนั้น มีฤทธิ์กำลังมาก แสดงว่าผู้ตายมีบุญบารมีมาก จึงอยู่บนหลังนกนั้นได้ และเมื่อจะทำฌาปนกิจ ต้องมีพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์เสียก่อนประชุมเพลิง ลำดับงานอย่างเช่น เมื่อศพเทียบเมรุแล้ว สวดอภิธรรม มีสมโภชน์ศพตามกำลังของเจ้าภาพและญาติ จนกระทั่วถึงกำหนดวันประชุมเพลิง เจ้าพิธีจัดเครืองบวงสรวงเชิญผู้ที่กำหนดตัวเป็นผู้ทำพิธีฆ่านกหัสดีลิงค์ ผู้จะฆ่านก ต้องฟ้อนรำตรงไปที่ตัวนก รำไปรอบตัวนก 3 รอบ แล้วใช้ศรยิงไปที่ยังตัวนก เขาสมมุติกันแล้วว่า จะเสียบลูกศรเข้าไปจุดใดของนก ทำเครื่องหมายไว้ พอลูกศรเสียบตัวนก คนที่เตรียมไว้ภายในตัวนก จะเทสีแดงออกมาจากรอยลูกศร คนภายในตัวนกจะส่งเสียงร้อง แล้วการเคลื่อนไหวของนกจะช้าลงจนหยุดนิ่ง คือ นกตายไปแล้ว ในท้องนกเขาเตรียมฟืนไว้แล้ว เจ้าพิธีเลื่อนหีบศพลงชิดกองฟืน ทอดผ้าบังสุกุล แล้วประชุมเพลิงตามอย่างงานทั่วไป


      

- นกอินทรี

นกอินทรีหรือ Eagle เป็นนกขนาดใหญ่ที่มีอยู่จริงอยู่ในโลกปัจจุบันแต่ในป่าหิมพานต์ แตกต่างจากนกอินทรีในความจริงโดยสิ้นเชิง ตามจินตนาการของช่าง นกอินทรีในป่าหิมพานต์ มีสีเขียวอ่อนมีปีกและหางสีหงดิน(น้ำตาลอ่อน)



      
19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-22 12:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-9-22 13:42

+ สัตว์ประเภทนก (ต่อ)

- นกเทศ

อาจจะเพี้ยนมาจากคำว่านกกระจอกเทศ แต่ก็ไม่มีที่ยืนยันเพราะในรูปไม่มีส่วนใดคล้ายนกกระจอกเทศแต่อย่างใด มีแต่หน้าเป็นนกปากอย่างครุฑ มีหางอย่างไก่ มีสีหงชาด(แดงอ่อน)น่าจะเกิดจากจินตนาการของศิลปินผู้สร้างเป็นแน่




- พยัคฆ์เวนไตย
Payak Wane Tai is a mixed creature between a tiger, a Garuda, and a Hongsa. In ancient murals, the creature's depicted as a being with the head of a tiger with the body of a Garuda and the tail of a Hongsa.
      


- นกสดายุ

Sadayu is a large bird in the epic tale of Ramayana (Ramakien). He's a son of Garuda and a brother to another great bird, Nok Sumpatee. The bird played an important role in the story as it's a great allie to the kingdom of Ayotthaya and prince Rama.

In the tale, Sadayu is a large bird with greenish body color. One day he witnesses Tossakan (Ravana, the main villian in the story) kidnapping Sida (Sita), the wife of prince Rama. The courageous bird intervened and fought bravely with the giant. The giant was unable to defeat the bird. Sadayu madea mistake by accidentally told the giant that he's afraid of nothing besides Lord Shiva, Lord Vishnu, and the great ring which Sita's wearing.

The giant heard that and realized the bird's weakness, he immediately slipped the ring out of Sita's finger and threw it at Sadayu. One of Sadayu's wings was broken due to the giant's action. The giant then took Sida away.

Defeated, the bird carried the ring and went to report the incident to prince Rama before he passed away.



- เสือปีก

Suea Peek is a mixed creature with the head of a tiger and the body of a bird. In old text, the creature has yellowish color. The creature is simialr to Payak Wane Tai.



- สกุณเหรา

Sagoon Hayra is the creature with mixed features between aHayra (or a Naga) and a bird. Artists sometimes depict the head of Sagoon Hayra similar to a Hayra's or a Naga's with 2 antlers



- สินธุปักษี

Sintu Puksee is a very odd creature as it has both characteristics of a bird and fish. The creature has bluish bird body with fish tail and fins.




- สีหสุบรรณ
Sriha Subun has the head of a Singh, the body of a Garuda, and the tail of a Hongsa, similar to Payak Wane Tai.




- สุบรรณเหรา

Subun Hayra has the head of a 2 horn-Naga and the body of aGaruda. Quite a strange combination as the 2 creatures are sworn enemies.


- นกสัมพาที

Sumpatee is a son of Garuda and older brother to Nok Sadayu.Similar in physical appearace as Sadayu only his color is red instead of green. Sumpatee is the bird of selflessness because of his brave act.

The story happened when Sumpatee and his younger brother,Sadayu, were living in Ussakan mountain. Being young and innocent, Sadayu mistaken the brightly lid Sun for a fruit and tried to eat. The god Sun was furious at the bird and tried to burn the bird by expanding his lethal rays. Sumpatee saw his younger brother's being punished by the god. He then used himself as a shield to protect his brother from the piercing rays. The heat of the rays caused his feathers to fall.

Remained angry, the Sun God cursed Sumpatee to remain featherless and to stay at Hemarantee Cave. Only the day prince Rama's army brought the great ring to Lady Sida, the curse would be lifted.



- เทพกินนร

Thep Kinnanorn or Kinnanorn is the male counter part of Thep Kinnaree. The creature has the upper body of a human and the lower body of a Hongsa.




- เทพกินรี

Thep Kinnaree is one of the loveliest of the Himmapan beings. Described as a beautiful half-woman, half swan, with the head and torso of a woman yet below the delicately tapered waist she has the body, tail and legs of a swan. Kinnaree also has human arms and the wings of a swan. While the Kinnaree has a male counterpart (the Kinnara or Kinna Norn) and is similar in form. The Kinnaree is renowned for her excellence in singing, dancing and her graceful form is often seen in sculpture, traditional architectures, and temple murals.




- เทพปักษี

Thep Puksee is a mixed creature between a human and a bird. The different thing between this creature and Thep Kinna Nornand Thep Kinnaree seems to be the human like legs.




- นกทัณฑิมา

เป็นนกที่มีหัวเป็นนก ตัวเป็นครุฑ มีไม้เท้าหรือกระบอง ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ อธิบายว่า “นกทัณฑิมาเป็นนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑ ถือกระบอง” ไทยจัดเป็นสัตว์ในนิยาย ภาพจิตรกรรมที่วาดรูปนกทัณฑิมาเป็นรูปนกที่มีมือที่ปลายปีกเหมือนครุฑ แต่มีหัวและหน้าเป็นนก เนื่องจากเป็นนกที่มีอาวุธติดตัว จึงได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนผู้ที่คอยคุ้มกันอันตราย เช่น เมื่อทำลายเสื้อ ก็ให้หมายความว่า นกทัณฑิมาจะคุ้มครองผู้ที่สวมใส่ให้พ้นอันตราย เป็นต้น ในภาษาบาลีมีกล่าวถึงชื่อนกทัณฑมานวก แต่เพียงว่าเป็นนกตัวเล็กนิดเดียว ปากยาวดุจไม้เท้า เที่ยวจดจ้องหาปลาอยู่ตามหนองบัว


แหมๆๆๆชอบจิงๆนะป่านี้น่ะ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้