ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตะกรุดลับแล

[คัดลอกลิงก์]
1#
โพสต์ 2014-10-26 06:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด
เมืองลับแล

เรื่องเมืองลับแล เป็นนิทานพื้นบ้านเล่ากันว่าเป็นเมืองของคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต โกหกคำเดียวไม่ได้ ลูกเขยเห็นลูกร้องไห้ กล่อมแบบไหนก็ไม่หยุด หลุดปากหลอกลูกว่า แม่มาแล้ว...เท่านั้นแหละ ก็ต้องออกจากเมือง

เกร็ดของเรื่องอยู่ตรงขมิ้นที่เมียจับยัดใส่เต็มย่าม...ระหว่างเดิน เหนื่อยมาก ก็ควักทิ้ง เหลือขมิ้นอยู่แง่งเดียว พอถึงบ้านล้วงขึ้นมาจึงรู้ว่าเป็นทอง

เรื่องเมืองลับแล ทำนองนี้เล่ากันทั่วไป ไปเมืองไหนก็เล่า กระทั่งที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ อธิบายคำ “ลับแล” ไว้ว่าที่ซึ่งมองดูไม่เห็น เป็นชื่อเมืองที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่ลึกลับซับซ้อน มองจากภายนอกจะมองเห็นเป็นป่า ไม่ค่อยพบเห็นบ้านเรือน คนต่างถิ่นหากหลงเข้าไปก็มักหาทางออกไม่เจอ

บรรยากาศทั่วไปเยือกเย็นยามพลบค่ำ ดวงอาทิตย์ ไม่ทันตกดิน ก็มืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีสูงใหญ่เป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่าบริเวณนี้เรียกว่า ป่าลับแลง... ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นคำว่า “ลับแล”

บริเวณที่เป็นที่มาของชื่อ ลับแล คือห้าตำบลด้านเหนืออำเภอลับแล...ตำบลชัยจุมพล ตำบลศรีพนมมาศ ตำบลฝายหลวง ตำบลแม่พูล ตำบลนานกกก

ชาวลับแลมีอาชีพทำสวนทุเรียน สวนลางสาดบนภูเขา ผู้ชายใช้ชีวิตส่วนใหญ่ดูแลสวน ทิ้งลูกหลานอยู่ที่บ้าน ใครผ่านไป ก็เจอแต่ผู้หญิง นี่ก็คือที่มาของฉายา “เมืองแม่ม่าย”

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า คนเมืองลับแล น่าจะเป็นคนเมืองแพร่ เมืองน่าน...ที่หนีเภทภัย หรือลี้ภัยศึกสงคราม นักประวัติศาสตร์บางท่าน ชี้ว่า ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีสงครามระหว่างอยุธยากับเมืองทางเหนือ

แต่ตำนานกำเนิดเมืองลับแล...เล่าและบันทึกกันไว้เป็นหลักฐาน...เมื่อ ประมาณ พ.ศ.1500 หรือเมื่อพันปีที่แล้ว สมัยอาณาจักรโยนกนคร (เชียงแสนปัจจุบัน) เกิดสงครามรบพุ่งกันเนืองๆ ทั้งยังมีโรคระบาด

หนานคำสือและหนานคำแสน เป็นหัวหน้าพาคน 20 ครัวเรือน บรรทุกข้าวของใส่เกวียน มุ่งหน้าลงใต้ โดยบอกว่า เจ้าปู่พญาแก้ววงเมือง (กษัตริย์องค์ที่ 17 โยนกนคร) เข้าฝันบอกทาง จนมาถึงหุบเขาเมืองลับแล พบน้ำตก ธารน้ำไหล ดินฟ้าอากาศชุ่มชื้น มีภูเขาเตี้ย อุดมด้วยนานาพันธุ์ไม้ เหมือนที่เจ้าปู่เข้าฝัน ก็เลือกเป็นที่ตั้งรกรากปัฐาน

หนานคำสือ เป็นเจ้าแคว้น (กำนัน) หนาน คำแสน เป็นเจ้าหลัก (ผู้ใหญ่) ทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขสมบูรณ์ 7 ปีต่อมา ก็ชักชวนชาวบ้าน 10 คน บรรทุกข้าวของเดินทางย้อนขึ้นไปเยี่ยมญาติ และได้เข้าเฝ้าฯพระเจ้าเรืองธิราช กษัตริย์ องค์ที่ 21 โยนกนคร กราบทูลถึงถิ่นฐานแห่งใหม่

พระเจ้าเรืองธิราช พระราชทานพระไตรปิฎก และพระสงฆ์ 6 รูป และเครื่องใช้ไม้สอยเกี่ยวกับศาสนพิธีให้ไปสร้างวัดเก้าเง้ามูลศรัทธา (วัดใหม่ ต.ฝายหลวง ปัจจุบัน) ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองลับแลกับโยนกนคร แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อกษัตริย์โยนกนครขอนางสุมาลี ธิดาเจ้าแคว้นลับแล และนางสุมาลา ธิดาเจ้าหลักเมืองลับแล ซึ่งมีฝีมือในด้านเย็บปักถักร้อย เป็นผู้ประดิษฐ์ซิ่นลายตีนจก ให้เป็นชายาฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารราชบุตรและโปรดให้ไปเป็นกษัตริย์เมืองลับแล เมื่อ พ.ศ.1513

เจ้าฟ้าฮ่ามมีพระทัยฝักใฝ่ศาสนา เสด็จไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากดอยตุง มาบรรจุที่สถูปเจดีย์วัดป่าแก้วเรไร (วัดเจดีย์ ปัจจุบัน) ผู้เฒ่าเมืองลับแลเล่าให้ลูกหลานฟังว่า ถึงวันศีลวันธรรม จะมีดวงไฟสุกสว่าง (พระธาตุเสด็จ) ลอยเหนือเจดีย์ อยู่เป็นประจำ

ต่อมาได้เสด็จไปแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ 32 องค์ จากโยนกนคร มาบรรจุไว้ที่สถูปเจดีย์ วัดม่อนธาตุ และต่อมาได้สร้างวัดชัยจุมพล และวัดดอนชัย เมื่อเจ้าฟ้าฮ่ามสวรรคต ราษฎรได้นำพระอัฐิไปบรรจุไว้ที่วัดม่อนอารักษ์ ต.ฝายหลวง ให้ชาวลับแลได้สักการะจนถึงวันนี้.


2#
โพสต์ 2014-10-26 06:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-10-26 06:20

เมืองลับแลในนิยาย

เรื่องเล่าในนิยายต่อไปนี้จะเกี่ยวเนื่องถึงตำนาน เมืองแม่หม้าย เริ่มจาก ครั้งหนึ่งมีหนุ่มเมืองใต้ (เมืองทุ่งยั้ง) แอบเดินทางหลงป่าไปทางเหนือได้เห็นสาวสวยออกจากเมืองลับแลมาโดยซ่อนกุญแจไว้ ชายหนุ่มจึงแอบขโมยกุญแจไว้และใช้เล่ห์กล มนต์อุบาย เกี้ยวพาราสีจนสาวหลงเชื่อพาไปอยู่กินเป็นสามีในเมืองลับแล ชายหนุ่มได้เห็นความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของเมืองแต่มีแต่ผู้หญิงสาวสวยทั้ง หมด ด้วยเหตุที่เมืองลับแลเป็นเมืองลี้ลับคนภายนอกไม่สามารถจะเข้าไปในเมืองได้ ชาวเมืองลับแลเป็นผู้ยึดมั่นในศีลธรรมผู้คนเคร่งครัดปฏิบัติธรรมเป็นนิจไม่ มีการกล่าววาจาหรือกระทำโกหกหลอกลวงกัน ต่อมาชายหนุ่มกับสาวงามเมืองลับแลได้มีลูกด้วยกันหนึ่งคน วันหนึ่งผู้เป็นไปธุระนอกบ้านชายหนุ่มจึงอยู่กับลูก ลูกเกิดร้องไห้หาแม่ชายหนุ่มจึงพูดโกหกลูกว่า “แม่มาแล้ว” เพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ ชาวบ้านได้ยินคำโกหกของชายหนุ่มจึงขับไล่ชายหนุ่มผู้นั้นออกจากเมืองภรรยา ซึ่งรักสามีก็ไม่อาจช่วยได้ และเกรงว่าสามีจะได้รับความลำบากจึงแอบเอาของสำคัญใส่ย่ามให้สามีโดยกำชับ ว่าเมื่อถึงบ้านให้เอาออกมาดูห้ามเอาออกมาดูระหว่างทาง เมื่อเดินทางพ้นเมืองลับแลชายหนุ่มจึงอยากรู้ว่าภรรยาเอาอะไรใส่ถุงให้เพราะ หนักจึงเอาออกมาดูก็เห็นขมิ้นเต็มถุงย่ามจึงเอาออกขว้างทิ้งเกือบหมดเหลือตก ค้างอยู่เพียงเล็กน้อย ครั้นกลับถึงบ้านจึงเล่าเรื่องราวเมืองลับแลให้เพื่อน ญาติพี่น้องฟังพร้อมกับยืนยันคำพูดด้วยการเอาขมิ้นติดถุงย่ามออกมาอวดปรากฏ ว่าขมิ้นนั้นเป็นทองคำ ด้วยความเสียดายจึงชวนพรรคพวก ญาติพี่น้อง ออกตามไปเก็บขมิ้นที่ขว้างทิ้งระหว่างทางแต่หาทางเก่าไม่พบและไม่เห็นทาง เข้าเมืองลับแล ด้วยเหตุนี้เมืองลับแลจึงเป็นเมืองอาถรรพ์ที่ชายหนุ่มทั้งหลายหวังจะเข้าไป แต่ไม่มีใครเข้าไปได้อีกเลย เป็นแต่เล่าต่อๆกันมาเป็นนิยายปรัมปราจวบจนทุกวันนี้

[url=][/url]


3#
โพสต์ 2014-10-26 06:15 | ดูโพสต์ทั้งหมด

จากนิยายมาเป็นตำนาน เมืองลับแล

ในสมัยก่อนเมืองลับแลเป็นป่าดงลึกที่มีภูเขาล้อมรอบเต็มไปด้วยสัตว์ป่าชุก ชุม พวกพรานเนื้อผู้กล้าหาญและมีเวทมนต์คาถาจะเดินทางเข้าไปล่าสัตว์ป่าแต่ปรากฏ ว่านายพรานทุกคนที่เข้าไปในป่าเมืองลับแลจะไม่มีใครได้กลับออกมา จึงกล่าวขานกันว่าเพราะผีป่าจำแลงแปลงเพศเป็นสาวงามออกมาเกี้ยวพาราสีนาย พราน ผู้หลงเดินทางเข้าดงลับแลก็จะนิมิตให้เป็นเมืองอย่างสวยงามมีผู้คนเป็นหญิง สาวล้วน ๆ พวกพรานหนุ่มก็พากันหลงกลมายาของพวกนางผีสาวจนตกเป็นอาหารกันหมดไม่มีผู้ใด รอดออกมาได้เลย ต่อมามีชายหนุ่มผู้ขมังเวทย์ชาวเมืองกัมโภช (ทุ่งยั้ง)จำนวน 3 คนชวนกันออกไปล่าสัตว์เดินทางแกะรอยสัตว์จนหลงเข้าใกล้ดงเมืองลับแลแดนผีดุ ร้ายจนถูกอำนาจมืดให้เข้าสู่นครสาวงาม เมื่อพบสาว ๆ หนุ่มทั้ง 3 คนก็หลงเกี้ยวพาราสีเมื่อถึงเวลาค่ำหนุ่ม 2 คนก็ถูกผีแม่กองกอยกินเป็นอาหาร บังเอิญหนุ่มอีก 1 คนโชคดีผีสาวตนหนึ่งได้หลอกพาเขาไปอยู่ในถ้ำและเอาเป็นสามีเมื่อถึงเวลาผี สาวกองกอยจะออกหากินก็จะเอาหินใหญ่ปิดปากถ้ำไว้ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลา 2 ปีกว่าจนมีลูกด้วยกันหนึ่งคน อยู่มาวันหนึ่งเมื่อนางผีสาวออกจากถ้ำแล้วปิดถ้ำไว้บังเอิญลูกเล่นอยู่ตรง ปากถ้ำไปถูกก้อนหินทำให้ก้อนหินปิดปกาถ้ำหล่นลงปากถ้ำก็เปิดออก ชายหนุ่มก็วิ่งออกจากถ้ำไปผีอีกองกอยกลับมาจึงออกวิ่งตามชายหนุ่มจวนตัวจึง หลบลงที่หลุมมันเสา (หลุมหัวมันกินได้) เอาหัวมุดลงหลุมเอาก้นกระดกขึ้นข้างบนผีสาวตามมาทันก็เอามือจับก้นชายหนุ่ม ด้วยความตกใจและกลัวตายหนุ่มก็ผายลมออกมาเสียงดังปุด ๆ ผีสาวก็เอามือมาดมก็ได้กลิ่นเหม็นจึงอุทานว่า “ป้ออี่ฮอม***ต๋ายเสียแล้ว***จะไปเอาถุงม่าบ้าม่าขั่ง (ถุงย่าม) มาหื้อผัว***” เพราะหวังว่าสามีจะได้ไปสู่ที่เจริญมีกินมีอยู่ว่าแล้วผีสาวก็เอาถุงย่ามมา ให้สามีแล้วกลับไปหาลูกสาวในถ้ำ ชายหนุ่มได้จังหวะก็ลุกขึ้นเอาถุงย่ามสะพายบ่าแล้วรีบเดินทางเพื่อกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านจึงดูของในถุงย่ามก็พบว่าเป็นทองคำบริสุทธิ์ ชายหนุ่มจึงเล่าเรื่องราวเมืองลับแลให้เพื่อนฝูงญาติพี่น้องฟังทุกคนจึงลง ความเห็นว่าเมืองลับแลเป็นเมืองผีกินคน เป็นเมืองแม่หม้าย เมืองมหัศจรรย์ ต่อ ๆ กันมา

จากข้อมูลแห่งตำนาน สภาพต่อมาปรากฏว่าผู้คนเมืองลับแลจะมีผู้เฒ่าผู้แก่เป็นหญิงมากกว่าชายและ เป็นหญิงหม้ายเพราะสามีจะเสียชีวิตหมด (ผู้ชายเมืองลับแลจะอายุไม่ยืน) จะสังเกตได้ว่าจนถึงปัจจุบันในวันพระจะมีผู้สูงอายุเป็นหญิงไปทำบุญที่วัด มากกว่าชาย (ประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้หญิง) ซึ่งจะมีสาเหตุอื่นประกอบก็เป็นได้จึงทำให้ผู้หญิงมีอายุยืนมากกว่าผู้ชายคง ต้องรอการศึกษาต่อไป

4#
โพสต์ 2014-10-26 06:15 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ข้อมูลเพิ่มเติม.....................


-หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอจะอนุมานได้ว่าที่เมืองทุ่งยั้ง แต่เดิมเคยเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นชุมชนของพวกละว้าและขอม มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เพราะได้มีการขุดพบกลองมโหระทึกและพร้าสำริด ได้ในบริเวณดังกล่าว ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายลง คนไทยก็ได้เข้ามาครอบครองและตั้งเมืองขึ้นเรียกชื่อว่า "เมืองกัมโภช"
ทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นยามพลบค่ำแม้ตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า "ป่าลับแลง" (แลง แปลว่า เวลาเย็น) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลับแล" ซึ่งกลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน

     ในยุคเดียวกับการรวมตัวของเมืองกัมโภช ได้มีผู้คนจากอาณาจักรโยนกเชียงแสน อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบเขาแห่งหนี่งและตั้งชื่อ บ้านว่า "บ้านเชียงแสน" ต่อมาคนกลุ่มนั้นก็แยกย้ายกันไปหักล้างถางดงสร้างบ้านเมือง ขึ้นกระจัดกระจายตามที่ราบและไหล่เขาต่าง ๆ เมื่อได้ทำมาหากินกันระยะหนึ่งคนกลุ่มนั้นได้ไปอัญเชิญเจ้าชายฟ้าฮ่ามกุมาร จากอาณาจักรโยนกเชียงแสน มาตั้งเมืองที่ป่าลับแล ให้ชื่อว่าเมืองลับแล และสร้างวังขึ้นที่บ้านท้องลับแล หรือที่บริเวณวัดเจดีย์คีรีวิหาร เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสนล่มสลายลง อาณาจักรล้านนาเฟื่องฟูแทน เมืองลับแลก็ยอมขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1690 อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองขึ้น ก็เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1981 เมืองทุ่งยั้ง ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น เพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรอยุธยา เมืองลับแลจึงได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้ง ครั้นต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองอุตรดิตถ์ และได้เสด็จมาถึงเมืองลับแลในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ได้โปรดให้ย้ายศาลากลางจังหวัดจากเมืองพิชัยมาตั้งที่บางโพ และยุบเมืองทุ่งยั้งรวมกับลับแลและสถาปนาเมืองลับแลขึ้นเป็นอำเภอ ส่วนอาคารที่ทำการยังตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง บริเวณใกล้เวียงเจ้าเงาะ

     ต่อมาพระพิศาลคีรี ได้ย้ายอาคารที่ทำการไปตั้งที่ม่อนจำศีลในปีเดียวกันนี้ (ห่างจากที่ว่าการ อำเภอปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร) ครั้นถึง พ.ศ. 2457 สมัย พระศรีพนมมาศ (เมื่อครั้งเป็นหลวงศรีพนมมาศ) เห็นว่าห่างไกลจากตัวเมืองลำบากแก่ราษฎรไปติดต่อ ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะสงวนที่ม่อนจำศีล เป็นที่ประดิษฐานพระเหลือ (พระพุทธรูปที่สร้างจากทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก) เพราะทรงเห็นว่าทิวทัศน์ของม่อนจำศีลคล้ายกับเมืองชวา จึงได้ย้ายอาคารที่ทำการจากม่อนจำศีล มาอยู่ที่ ม่อนสยามินทร์ (ชาวบ้านเรียกม่อนสามินทร์) เพราะเคยเป็นที่ตั้งพลับพลารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน
มีรายละเอียดเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเมืองลับแลเพิ่มเติม อีกทั้งยังมีความผิดเพี้ยนกันอยู่บ้าง จนสรุปไม่ได้ว่าตกลงเรื่องเหล่านี้เป็นเพียงนิยายที่แต่งขึ้นมาหรือจริงๆ แล้วคือเรื่องเล่าที่กลายเป็นตำนาน...แต่ไม่ว่าจะเป็นเพียงนิยายหรือตำนาน การเล่าขานถึงความลี้ลับก็จะยังคงอยู่คู่กับเมืองลับแล...ตลอดไป



     เมืองลับแลนั้นเป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เดิมคงเป็นเมืองที่การเดินทางไปมาไม่สะดวก เส้นทางคดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับแล ซึ่งแปลว่า มองไม่เห็น มีเรื่องเล่ากันว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึงเมืองลับแล

    ตำนานนี้เล่ากันสืบมาว่า ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่ง (น่าจะเป็นคนเมืองทุ่งยั้ง) เข้าไปในป่า ได้เห็นหญิงสาวสวยหลายคนเดินออกมา ครั้นมาถึงชายป่า นางเหล่านั้นก็เอาใบไม้ที่ถือมาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปในเมือง ด้วยความสงสัยชายหนุ่มจึงแอบหยิบใบไม้มาเก็บไว้ใบหนึ่ง ตกบ่ายหญิงสาวเหล่านั้นกลับมา ต่างก็หาใบไม้ที่ตนซ่อนไว้ ครั้นได้แล้วก็ถือใบไม้นั้นเดินหายลับไป มีหญิงสาวคนหนึ่งหาใบไม้ไม่พบ เพราะชายหนุ่มแอบหยิบมา นางวิตกเดือดร้อนมาก ชายหนุ่มจึงปรากฏตัวให้เห็นและคืนใบไม้ให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ..ขอติดตามนางไปด้วยเพราะปรารถนาจะได้เห็นเมืองลับแล หญิงสาวก็ยินยอม นางจึงพาชายหนุ่มเข้าไปยังเมืองซึ่งชายหนุ่มสังเกตเห็นว่าทั้งเมืองมีแต่ผู้หญิง นางอธิบายว่าคนในหมู่บ้านล้วนมีศีลธรรม ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดก็ต้องออกจากหมู่บ้านไป ผู้ชายส่วนมากมักไม่รักษาวาจาสัตย์จึงต้องออกจากหมู่บ้านกันไปหมด แล้วนางก็พาชายหนุ่มไปพบมารดาของนาง ชายหนุ่มเกิดความรักใคร่ในตัวนางจึงขออาศัยอยู่ด้วย มารดาของหญิงสาวก็ยินยอม แต่ให้ชายหนุ่มสัญญาว่าจะต้องอยู่ในศีลธรรม ไม่พูดเท็จ ชายหนุ่มได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวลับแลจนมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน

     วันหนึ่งขณะที่ภรรยาไม่อยู่บ้าน ชายหนุ่มผู้พ่อเลี้ยงบุตรอยู่ บุตรน้อยเกิดร้องไห้หาแม่ไม่ยอมหยุด ผู้เป็นพ่อจึงปลอบว่า "แม่มาแล้วๆ" มารดาของภรรยาได้ยินเข้าก็โกรธมากที่บุตรเขยพูดเท็จ เมื่อบุตรสาวกลับมาก็บอกให้รู้เรื่อง ฝ่ายภรรยาของชายหนุ่มเสียใจมากที่สามีไม่รักษาวาจาสัตย์ นางบอกให้เขาออกจากหมู่บ้านไปเสีย แล้วนางก็...จัดหาย่ามใส่เสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้สามี พร้อมทั้งขุดหัวขมิ้นใส่ลงไปด้วยเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็พาสามีไปยังชายป่า ชี้ทางให้ แล้วนางก้กลับไปเมืองลับแล ชายหนุ่มไม่รู้จะทำอย่างไรก็จำต้องเดินทางกลับบ้านตามที่ภรรยาชี้ทางให้ ระหว่างทางที่เดินไปนั้น เขามีความรู้สึกว่าถุงย่ามที่ถือมาหนักขึ้นเรื่อยๆ และหนทางก้ไกลมาก จึงหยิบเอาขมิ้นที่ภรรยาใส่มาให้ทิ้งเสียจนเกือบหมด ครั้นเดินทางกลับไปถึงหมู่บ้านเดิม บรรดาญาติมิตรต่างก็ซักถามว่าหายไปอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน ชายหนุ่มจึงเล่าให้ฟังโดยละเอียดรวมทั้งเรื่องขมิ้นที่ภรรยาใส่ย่ามมาให้แต่เขาทิ้งไปเกือบหมด เหลืออยู่เพียงแง่งเดียว พร้อมทั้งหยิบขมิ้นที่เหลืออยู่ออกมา ปรากฏว่าขมิ้นนั้นกลับกลายเป็นทองคำทั้งแท่ง ชายหนุ่มรู้สึกแปลกใจและเสียดาย จึงพยายามย้อนไปเพื่อหาขมิ้นที่ทิ้งไว้ ปรากฏว่าขมิ้นเหล่านั้นได้งอกเป็นต้นไปหมดแล้ว และเมื่อขุดดุก็พบแต่แง่งขมิ้นธรรมดาที่มีสีเหลืองทอง แต่ไม่ใช่ทองเหมือนแง่งที่เขาได้ไป เขาพยายามหาทางกลับไปเมืองลับแล แต่ก้หลงทางวกวนไปไม่ถูก จนในที่สุดก็ต้องละความพยายามกลับไปอยู่หมู่บ้านของตนตามเดิม



ที่มา.http://www.clipmass.com

5#
โพสต์ 2014-10-27 20:49 | ดูโพสต์ทั้งหมด
majoy ตอบกลับเมื่อ 2014-10-26 09:26
วาจาเป็นสิ่งสำคัญจริงๆ

รักษายากมาก สุดๆ
6#
โพสต์ 2014-10-27 21:01 | ดูโพสต์ทั้งหมด

"สัจจบารมี"



เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเสด็จออกบวชจนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด คำว่า...


"สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์", "จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง"


ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง"



"สัจจบารมี" จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง"


นอกจาก "สัจจบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กันเสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "อธิษฐานบารมี"


คำว่า "อธิษฐาน" หมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า "สัตย์" ซึ่งเรียกรวมกันว่า


"สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้งสัตย์อธิษฐาน"
ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในคำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง
พระสูตร หรือ พระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลต่างๆเป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือ การกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี เช่น บทสวดที่ว่า


นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวด
ได้ถือปฏิบัติตามข้อความ หรือ สัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะ
ต้องมีความเคารพ เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น


การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงในเรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจเช่น อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า

อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันว่า "คาถา(นกคุ่ม)ดับไฟ"



บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่งในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้ และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์จึงได้ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์


ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า


ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบรังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความตายอยู่ในรัง ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มีอยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิดผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงแปล มีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า "คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจกิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและบิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลงมากก็สงบ.…

ประหนึ่งเปลวไฟที่ตกถึงน้ำ สิ่งใดเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา"


ผู้ที่สามารถรักษาสัจจวาจาได้จนเป็นนิสัย ก็เท่ากับผู้นั้นได้มีโอกาสบำเพ็ญ
สะสมสัจจบารมีของตนให้มากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อนำมาประกอบกับอธิษฐานบารมี บารมีที่ได้สะสมไว้ทั้งสองประการย่อมมีพลังรุนแรง แสดงผลให้ได้ทันตาเห็น ดังที่ได้แสดงไว้ในบทสวดวัฏฏปริตรดังกล่าวข้างต้น
7#
โพสต์ 2014-11-1 07:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
เตรียมตัวให้พร้อมครับพี่น้องใกล้แระ
8#
โพสต์ 2017-12-11 06:44 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตอนจองหมดไว มาก
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้