ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6566
ตอบกลับ: 14
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ~

[คัดลอกลิงก์]


หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา

หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ หรือท่านพระครูพุทธสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ (กบเจา)

ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ท่านเป็นพระที่สมควรเคารพกราบไหว้องค์หนึ่ง…หลวงปู่บวชเป็นสามเณรตั้งแต่ อายุ ๑๖ ปี ลาสึกเมื่ออายุ ๒๐ ปีเพื่อสมัครเข้ารับราชการทหาร..

แต่ เพราะเป็นคนรูปร่างเล็ก จึงไม่ได้เข้ารับราชการ ท่านจึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ ปฏิบัติกรรมฐานในป่าดงดิบมาโดยตลอด

จนมีอายุมากขึ้นจึงได้หยุดเดิน ธุดงค์ และด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคม ส่งผลให้ท่านก้าวขึ้นเป็น “ที่พึ่งทางใจ” ให้กับลูกศิษย์และญาติโยมได้ทุกเรื่อง..

“ฉันมีความรู้สึกว่า เราเป็นพระใครก็ว่าพระเป็นแต่ผู้รับของจากญาติโยมอย่างเดียว ไม่ได้ให้อะไรตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันที่เป็นรูปธรรมเลย....

ให้แต่ศีล ให้แต่ธรรม เป็นนามธรรมทั้งนั้น ฉันจึงต้องแสวงหาวิชาเพื่อตอบแทนญาติโยม อย่างเช่นการรักษาโรค การรักษาพวกขาหัก....”


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 16:25 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หลวงปู่เมี้ยน ถือกำเนิด ณ บ้านหาดทราย (บ้านเจ๊ก) หมู่ ๙ ตำบลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีมะเส็ง วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ข้างขึ้น พุทธศักราช ๒๔๖๐ ท่านเป็นบุตรคนที่สามของคุณพ่อแก้ว คุณแม่ทองม้วน นามสกุล เกิดโภคทรัพย์

บิดาของท่านเป็นหมอยากลางบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรแผนโบราณ สามารถวินิจฉัยโรคและวางยาให้ตรงกับโรค เรียกได้ว่าหากใครหาหมอที่ไหนรักษาไม่ได้แต่ถ้าหามมาให้หมอแก้วแล้วเป็น หายกลับไปทุกราย

การรักษาโรคด้วยความรู้และมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง และดำเนินชีวิตด้วยความอ้อนน้อมถ่อมตน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า ..”หมอแก้วเทวดา”

คำพังเพยโบราณกล่าวไว้อย่างชวนคิดว่า ...”ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”....และ....”สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ

ด้วยความที่เด็กชายเมี้ยน เห็นบิดาทำการรักษาโรคให้กับชาวบ้าน ทำให้ท่านได้ซึมซับความรู้สึกชอบในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นเด็กชายเมี้ยนจึงอาสาเข้าเป็นผู้ช่วยบิดาในการหยิบจับสมุนไพรต่างๆ มาจัดยาให้

ด้วยความที่ท่านเป็นเด็กช่างจด ช่างจำและมีความกระตือรือร้น ทำให้ท่านสามารถจดจำตัวยาชนิดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เป็นที่เชื่อถือของชาวบ้านว่า ยาของหมอแก้ว ขอเพียงให้หมอแก้วได้สั่งเท่านั้น เด็กชายเมี้ยนสามารถจัดยาเข้าชุดได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง....

“พวกที่เข้าเฝือกปูนมาจากโรงพยาบาล ถ้าให้ฉันรักษา ต้องตัดเฝือกปูนออก..

เพราะการเข้าเฝือกปูนจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ที่ร้ายแรงคือแผลเน่าข้างใน ทำให้บางคนกลายเป็นเนื้อร้าย อาจถึงกับต้องตัดขาก็มี..

ฉัน ต้องตัดเฝือกปูนออกแล้วใช้เฝือกไม้ไผ่ยึดกระดูกแทน มันก็แน่นดีไม่แพ้เฝือกปูนแต่รักษาง่ายกว่า เอาน้ำมันหยอดชโลมได้ แผลก็แห้งเร็ว ไม่อบ ไม่ร้อน จะคันตรงไหน ก็เกาพอให้บรรเทาได้...”



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 16:25 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หลวงปู่เมี้ยน ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพธิ์(กบเจา) ในปีพ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี พระครูปุ้ย ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหลิว วัดพิกุล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูหริ่ม จันทโชติ วัดโพธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ...ได้รับฉายาว่า “พุทธสิริ” และเข้าจำพรรษา ณ วัดโพธิ์ (กบเจา) ...


ถึงตรงนี้ขอแทรก”เกร็ดเรื่องคติความเชื่อ ”ของคนไทยนิดครับ....การบวชเรียนในสมัยก่อน สมัยโบราณท่านว่าการบวชนั้น ผู้ที่บวชจะต้องมีการศึกษาหาความรู้มาก่อน

กล่าวคือผู้ที่จะออกบวช จะต้องไปอยู่กับวัด ฝึกหัดปฏิบัติตามข้อวัตรของพระภิกษุสามเณรเสียก่อน มิใช่ว่าจะมาบวชกันตามประเพณีเหมือนในสมัยนี้...

ดังนั้นผู้ออกบวช จึงมักจะเป็นผู้ที่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเป็นที่สุด การฝึกปฏิบัติ เช่นการกวาดลานวัด การออกบิณฑบาต การเช็ดถูศาลา การซ่อมแซมอารามที่ชำรุด สร้างทางเดิน ฯลฯ


จึงเป็นการหล่อหลอม จิตใจของผู้ที่จะบวชให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เกียจคร้าน ทำตัวว่านอนสอนง่าย รู้จักดำรงอยู่กับหมู่คณะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ฝึกไว้เพื่อให้ไม่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย...





เมื่อเขาเหล่านั้นได้ลาสึกจากการเป็นพระแล้ว จึงทำให้มีความรู้ ความชำนาญ ในวิชาการต่างๆ เช่นช่างไม้ ช่างปูน สามารถปลูกสร้างบ้านเรือนได้

ซึ่ง นั่นก็คือการฝึกหัดในลักษณะของการเป็นวิชาชีพ นอกจากนี้บางคนยังมีความสามารถรอบรู้ไปถึงการศึกษาวิชาอาคม รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และด้วยเหตุนี้แหละครับ “วัด” จึงเป็นเหมือน “สถาบันชั้นสูง” ของคนไทยมาอย่างยาวนาน

หลวงปู่เมี้ยน เคยเล่าให้พวกผมฟังว่า ท่านชอบออกเดินธุดงค์เพราะว่าชอบความสงบของป่า อีกอย่างที่แปลกก็คือพอกลับมาอยู่วัดทีไร เป็นต้องออกอาการป่วยไข้ทันทีแต่พอออกเดินธุดงค์กลับไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เลย..

ผลพลอยได้จากการออกเดินธุดงค์ท่านได้พบครูบาอาจารย์องค์ หนึ่ง คือหลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่ออินทร์ เทวดา”...

คำว่าเทวดาตามความเชื่อของชาวป่า ชาวเขา พวกเราสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการเป็นผู้ที่มิวิชาอาคมแก่กล้า..

ซึ่ง ก็ไม่ผิดนักเพราะหลวงปู่ท่านได้เล่าเหตุการณ์มหัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงพ่อ อินทร์ และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้หลวงปู่เกิดความศรัทธา จนต้องขอปวารณาขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอเรียนสรรพวิชาจากหลวงพ่ออินทร์..

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:01 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ วัดโพธิ์ (กบเจา) ตอน น้ำมนต์ น้ำมัน มีดหมอ ชานหมาก ไม้ครู


“หลวงพ่ออินทร์ ท่านเก่งในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่เห็นกับตาคือช้างป่าตัวหนึ่งถูกพรานยิงแต่ได้หลบหนีเข้าไปกลางดง

หลวง พ่ออินทร์ไปพบจึงได้รักษาโดยใช้..”น้ำมันมนต์”....หยอดลงไปในบาดแผลที่ กระสุนฝังอยู่และเสกเป่าด้วยคาถาอาคม ไม่นานนักลูกปืนก็ไหลตามน้ำมนต์ออกมาอย่างน่าอัศจรรย์...”

ซึ่งใน เรื่องนี้หลวงปู่บอกกับพวกเราว่า “พลังเมตตาจิต” ของหลวงพ่ออินทร์ถือว่าเป็นเรื่องเหนือคนจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงการมานั่งหยอดน้ำมันมนต์ให้ลูกปืนในตัวช้างไหลออกมาหรอก

เอา แค่ว่าช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บ ก็ต้องมีความดุร้ายมากกว่าเก่าแล้ว แต่การที่ช้างยอมสงบให้หลวงพ่ออินทร์รักษา นั่นก็พอจะแสดงถึงอำนาจจิตของท่านแล้ว..

ผมจำไม่ได้แล้วว่าตัวเอง เริ่มอ้าปากค้างตั้งแต่เมื่อไร แต่ก็คงจะใกล้ๆกับที่ความสนใจในเรื่องของช้างป่าจบลงนั่นแหละ...ดูเหมือนว่า พอพวกเราฟังจบ

ความวุ่นวายสาระวนในการขยับเข้าไปใกล้หลวงปู่จึงเกิดขึ้น อาจเป็นเพราะหลวงปู่เมี้ยนท่านกำลังขยับตัวเพื่อจะหยิบตะบันหมาก

จะ ว่าไปแล้วเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนที่เคยได้ยินกิติศัพท์ของหลวงปู่เมี้ยน ย่อมจะจำได้ว่าวัตถุมงคลขมังเวทย์เปี่ยมประสบการณ์ที่ขึ้นชื่อของท่านคือ “ชานหมาก..”







เมื่อเอ่ยถึง “ชานหมาก” บางคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเราถึงให้ความสนใจกับมันมากนัก ขอเรียนว่าหากมันเป็นชานหมากธรรมดาของตาสีตาสา พวกเราก็คงจะเมินเฉย

แต่ชานหมากที่คายออกจากปากของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างหลวงปู่เมี้ยนมันคือ”ของวิเศษขนานดี..”สำหรับพวกเราทีเดียว

เอา เป็นว่าเมื่อยามที่ขุนอิน แห่งโหมโรง ขยับตีระนาด เสียงของระนาดช่างไพเราะจับใจ แต่ในบริบทแบบนี้ความไพเราะที่ว่านั้น ยังสู้เสียงของชานหมากที่หล่นลงกระทบกระโถนไม่ได้เลย...ว่ากันขนาดนั้น

ชาน หมากของหลวงปู่ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการมากที่สุด ผมเคยเห็นบางคนที่เขาศรัทธาหลวงปู่จริงๆ พอชานหมากของหลวงปู่คายออกจากปาก..

ผู้รับก็ใส่ปากกลืนลงไปเลยต่อ หน้าต่อตา เรียกว่าให้ซึมซาบลงไปในเนื้อหนังอยู่กับตัวเองตลอดไป ..ผมเคยถามเหตุผลกับคนเหล่านี้ ฟังแล้วรักหลวงปู่ขึ้นเยอะครับ...

“เพราะ หลวงปู่เป็นพระที่พูดแต่เรื่องดีๆ ไม่ด่าใคร ไม่นินทาใคร ทุกวันท่านก็จะเสก จะเป่าท่องมนต์ รักษาผู้ที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ เคี้ยวไป เสกไป ไม่ขลังตอนนี้แล้วจะให้ขลังตอนไหน....”

จะว่าไป แล้วตามที่เขาเล่า นั่นคือเรื่องจริงครับ เพราะเท่าที่พวกผมเคยนั่งเสนอหน้านวดขาให้หลวงปู่ ยังไม่เคยเห็นว่าหลวงปู่ท่านจะบ่นว่าเบื่อเลย

กลับจะกุลีกุจอซะทุก ครั้งที่มีคนป่วยเดินขึ้นมาบนกุฏิ ไม่ว่าใครจะมาเรียกขอความช่วยเหลือดึกดื่นเพียงใด หลวงปู่ไม่เคยดุด่าว่าเลย กลับถามว่ามาอย่างไรกัน เป็นอะไร บางทีพวกเราก็อดห่วงในสุขภาพและความปลอดภัยของท่านเสียมิได้....

มีคำพูดชวนให้คิดว่า “ถ้าคุณเป็นชาวนา คุณจะปลูกข้าวอย่างเดียวไม่ได้ แต่คุณต้องเป็นศัตรูกับวัชพืชด้วย.....”

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:01 | ดูโพสต์ทั้งหมด




   


หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา

หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ หรือท่านพระครูพุทธสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ (กบเจา)

ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา





ท่าน เป็นพระที่สมควรเคารพกราบไหว้องค์หนึ่ง…หลวงปู่บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ลาสึกเมื่ออายุ ๒๐ ปีเพื่อสมัครเข้ารับราชการทหาร..

แต่ เพราะเป็นคนรูปร่างเล็ก จึงไม่ได้เข้ารับราชการ ท่านจึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ ปฏิบัติกรรมฐานในป่าดงดิบมาโดยตลอด

จนมีอายุมากขึ้นจึงได้หยุดเดิน ธุดงค์ และด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคม ส่งผลให้ท่านก้าวขึ้นเป็น “ที่พึ่งทางใจ” ให้กับลูกศิษย์และญาติโยมได้ทุกเรื่อง..

“ฉันมีความรู้สึกว่า เราเป็นพระใครก็ว่าพระเป็นแต่ผู้รับของจากญาติโยมอย่างเดียว ไม่ได้ให้อะไรตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันที่เป็นรูปธรรมเลย....

ให้แต่ศีล ให้แต่ธรรม เป็นนามธรรมทั้งนั้น ฉันจึงต้องแสวงหาวิชาเพื่อตอบแทนญาติโยม อย่างเช่นการรักษาโรค การรักษาพวกขาหัก....”


หลวงปู่เมี้ยน ถือกำเนิด ณ บ้านหาดทราย (บ้านเจ๊ก) หมู่ ๙ ตำบลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีมะเส็ง วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ข้างขึ้น พุทธศักราช ๒๔๖๐ ท่านเป็นบุตรคนที่สามของคุณพ่อแก้ว คุณแม่ทองม้วน นามสกุล เกิดโภคทรัพย์

บิดา ของท่านเป็นหมอยากลางบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรแผนโบราณ สามารถวินิจฉัยโรคและวางยาให้ตรงกับโรค เรียกได้ว่าหากใครหาหมอที่ไหนรักษาไม่ได้แต่ถ้าหามมาให้หมอแก้วแล้วเป็น หายกลับไปทุกราย

การรักษาโรคด้วยความรู้และมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง และดำเนินชีวิตด้วยความอ้อนน้อมถ่อมตน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า ..”หมอแก้วเทวดา”

คำ พังเพยโบราณกล่าวไว้อย่างชวนคิดว่า ...”ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”....และ....”สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ”



ด้วยความที่เด็กชายเมี้ยน เห็นบิดาทำการรักษาโรคให้กับชาวบ้าน ทำให้ท่านได้ซึมซับความรู้สึกชอบในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นเด็กชายเมี้ยนจึงอาสาเข้าเป็นผู้ช่วยบิดาในการหยิบจับสมุนไพรต่างๆ มาจัดยาให้

ด้วยความที่ท่านเป็นเด็กช่างจด ช่างจำและมีความกระตือรือร้น ทำให้ท่านสามารถจดจำตัวยาชนิดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เป็นที่เชื่อถือของชาวบ้านว่า ยาของหมอแก้ว ขอเพียงให้หมอแก้วได้สั่งเท่านั้น เด็กชายเมี้ยนสามารถจัดยาเข้าชุดได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง....

“พวกที่เข้าเฝือกปูนมาจากโรงพยาบาล ถ้าให้ฉันรักษา ต้องตัดเฝือกปูนออก..

เพราะการเข้าเฝือกปูนจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ที่ร้ายแรงคือแผลเน่าข้างใน ทำให้บางคนกลายเป็นเนื้อร้าย อาจถึงกับต้องตัดขาก็มี..

ฉัน ต้องตัดเฝือกปูนออกแล้วใช้เฝือกไม้ไผ่ยึดกระดูกแทน มันก็แน่นดีไม่แพ้เฝือกปูนแต่รักษาง่ายกว่า เอาน้ำมันหยอดชโลมได้ แผลก็แห้งเร็ว ไม่อบ ไม่ร้อน จะคันตรงไหน ก็เกาพอให้บรรเทาได้...”


หลวงปู่เมี้ยน ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพธิ์(กบเจา) ในปีพ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี พระครูปุ้ย ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหลิว วัดพิกุล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูหริ่ม จันทโชติ วัดโพธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ...ได้รับฉายาว่า “พุทธสิริ” และเข้าจำพรรษา ณ วัดโพธิ์ (กบเจา) ...


ถึง ตรงนี้ขอแทรก”เกร็ดเรื่องคติความเชื่อ”ของคนไทยนิดครับ....การบวชเรียนใน สมัยก่อน สมัยโบราณท่านว่าการบวชนั้น ผู้ที่บวชจะต้องมีการศึกษาหาความรู้มาก่อน

กล่าวคือผู้ที่จะออกบวช จะต้องไปอยู่กับวัด ฝึกหัดปฏิบัติตามข้อวัตรของพระภิกษุสามเณรเสียก่อน มิใช่ว่าจะมาบวชกันตามประเพณีเหมือนในสมัยนี้...

ดังนั้นผู้ออกบวช จึงมักจะเป็นผู้ที่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเป็นที่สุด การฝึกปฏิบัติ เช่นการกวาดลานวัด การออกบิณฑบาต การเช็ดถูศาลา การซ่อมแซมอารามที่ชำรุด สร้างทางเดิน ฯลฯ


จึงเป็นการหล่อหลอม จิตใจของผู้ที่จะบวชให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เกียจคร้าน ทำตัวว่านอนสอนง่าย รู้จักดำรงอยู่กับหมู่คณะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ฝึกไว้เพื่อให้ไม่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย...

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:03 | ดูโพสต์ทั้งหมด
เมื่อเขาเหล่านั้นได้ลาสึกจากการเป็นพระแล้ว จึงทำให้มีความรู้ ความชำนาญ ในวิชาการต่างๆ เช่นช่างไม้ ช่างปูน สามารถปลูกสร้างบ้านเรือนได้

ซึ่งนั่นก็คือการฝึกหัดในลักษณะของ การเป็นวิชาชีพ นอกจากนี้บางคนยังมีความสามารถรอบรู้ไปถึงการศึกษาวิชาอาคม รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และด้วยเหตุนี้แหละครับ “วัด” จึงเป็นเหมือน “สถาบันชั้นสูง” ของคนไทยมาอย่างยาวนาน

หลวงปู่เมี้ยน เคยเล่าให้พวกผมฟังว่า ท่านชอบออกเดินธุดงค์เพราะว่าชอบความสงบของป่า อีกอย่างที่แปลกก็คือพอกลับมาอยู่วัดทีไร เป็นต้องออกอาการป่วยไข้ทันทีแต่พอออกเดินธุดงค์กลับไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เลย..

ผลพลอยได้จากการออกเดินธุดงค์ท่านได้พบครูบาอาจารย์องค์ หนึ่ง คือหลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่ออินทร์ เทวดา”...

คำว่าเทวดาตามความเชื่อของชาวป่า ชาวเขา พวกเราสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการเป็นผู้ที่มิวิชาอาคมแก่กล้า..

ซึ่ง ก็ไม่ผิดนักเพราะหลวงปู่ท่านได้เล่าเหตุการณ์มหัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงพ่อ อินทร์ และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้หลวงปู่เกิดความศรัทธา จนต้องขอปวารณาขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอเรียนสรรพวิชาจากหลวงพ่ออินทร์..



หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ วัดโพธิ์ (กบเจา) ตอน น้ำมนต์ น้ำมัน มีดหมอ ชานหมาก ไม้ครู


“หลวงพ่ออินทร์ ท่านเก่งในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่เห็นกับตาคือช้างป่าตัวหนึ่งถูกพรานยิงแต่ได้หลบหนีเข้าไปกลางดง

หลวง พ่ออินทร์ไปพบจึงได้รักษาโดยใช้..”น้ำมันมนต์”....หยอดลงไปในบาดแผลที่ กระสุนฝังอยู่และเสกเป่าด้วยคาถาอาคม ไม่นานนักลูกปืนก็ไหลตามน้ำมนต์ออกมาอย่างน่าอัศจรรย์...”

ซึ่งใน เรื่องนี้หลวงปู่บอกกับพวกเราว่า “พลังเมตตาจิต” ของหลวงพ่ออินทร์ถือว่าเป็นเรื่องเหนือคนจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงการมานั่งหยอดน้ำมันมนต์ให้ลูกปืนในตัวช้างไหลออกมาหรอก

เอา แค่ว่าช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บ ก็ต้องมีความดุร้ายมากกว่าเก่าแล้ว แต่การที่ช้างยอมสงบให้หลวงพ่ออินทร์รักษา นั่นก็พอจะแสดงถึงอำนาจจิตของท่านแล้ว..

ผมจำไม่ได้แล้วว่าตัวเอง เริ่มอ้าปากค้างตั้งแต่เมื่อไร แต่ก็คงจะใกล้ๆกับที่ความสนใจในเรื่องของช้างป่าจบลงนั่นแหละ...ดูเหมือนว่า พอพวกเราฟังจบ

ความวุ่นวายสาระวนในการขยับเข้าไปใกล้หลวงปู่จึงเกิดขึ้น อาจเป็นเพราะหลวงปู่เมี้ยนท่านกำลังขยับตัวเพื่อจะหยิบตะบันหมาก

จะ ว่าไปแล้วเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนที่เคยได้ยินกิติศัพท์ของหลวงปู่เมี้ยน ย่อมจะจำได้ว่าวัตถุมงคลขมังเวทย์เปี่ยมประสบการณ์ที่ขึ้นชื่อของท่านคือ “ชานหมาก..”


เมื่อเอ่ยถึง “ชานหมาก” บางคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเราถึงให้ความสนใจกับมันมากนัก ขอเรียนว่าหากมันเป็นชานหมากธรรมดาของตาสีตาสา พวกเราก็คงจะเมินเฉย

แต่ชานหมากที่คายออกจากปากของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างหลวงปู่เมี้ยนมันคือ”ของวิเศษขนานดี..”สำหรับพวกเราทีเดียว

เอา เป็นว่าเมื่อยามที่ขุนอิน แห่งโหมโรง ขยับตีระนาด เสียงของระนาดช่างไพเราะจับใจ แต่ในบริบทแบบนี้ความไพเราะที่ว่านั้น ยังสู้เสียงของชานหมากที่หล่นลงกระทบกระโถนไม่ได้เลย...ว่ากันขนาดนั้น

ชาน หมากของหลวงปู่ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการมากที่สุด ผมเคยเห็นบางคนที่เขาศรัทธาหลวงปู่จริงๆ พอชานหมากของหลวงปู่คายออกจากปาก..

ผู้รับก็ใส่ปากกลืนลงไปเลยต่อ หน้าต่อตา เรียกว่าให้ซึมซาบลงไปในเนื้อหนังอยู่กับตัวเองตลอดไป ..ผมเคยถามเหตุผลกับคนเหล่านี้ ฟังแล้วรักหลวงปู่ขึ้นเยอะครับ...

“เพราะ หลวงปู่เป็นพระที่พูดแต่เรื่องดีๆ ไม่ด่าใคร ไม่นินทาใคร ทุกวันท่านก็จะเสก จะเป่าท่องมนต์ รักษาผู้ที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ เคี้ยวไป เสกไป ไม่ขลังตอนนี้แล้วจะให้ขลังตอนไหน....”

จะว่าไป แล้วตามที่เขาเล่า นั่นคือเรื่องจริงครับ เพราะเท่าที่พวกผมเคยนั่งเสนอหน้านวดขาให้หลวงปู่ ยังไม่เคยเห็นว่าหลวงปู่ท่านจะบ่นว่าเบื่อเลย

กลับจะกุลีกุจอซะทุก ครั้งที่มีคนป่วยเดินขึ้นมาบนกุฏิ ไม่ว่าใครจะมาเรียกขอความช่วยเหลือดึกดื่นเพียงใด หลวงปู่ไม่เคยดุด่าว่าเลย กลับถามว่ามาอย่างไรกัน เป็นอะไร บางทีพวกเราก็อดห่วงในสุขภาพและความปลอดภัยของท่านเสียมิได้....

มีคำพูดชวนให้คิดว่า “ถ้าคุณเป็นชาวนา คุณจะปลูกข้าวอย่างเดียวไม่ได้ แต่คุณต้องเป็นศัตรูกับวัชพืชด้วย.....”

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:06 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แน่นอนครับเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ที่ศึกษาวิชาไสยศาสตร์ อุปกรณ์สำคัญที่จะขาดเสียมิได้คือ “มีดหมอ” หากวิชาอาคมคือเสื้อผ้า มีดหมอก็คือกางเกงละครับ

ผมเคยได้ยินญาติโยมหลายท่านถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆว่า

“หลวงปู่เรียนวิชาจากใคร และมีดที่ใช้อยู่นั้นเอามาจากไหน”

ซึ่ง เมื่อท่านฟังเสร็จมักจะหลับตาแล้วเงียบไปซะเฉยๆ และเป็นการนั่งที่ทำให้ผู้ถามต้องกราบลาท่านกลับเพราะรอคำตอบไม่ไหว...ถึง ตอนนี้ผมมีคำตอบให้ครับ...เป็นคำกล่าวที่เล่าขานกันเลยว่า

“ใครไปวัดโพธิ์ ไม่โดนมีดหมอหลวงพ่อเมี้ยน ก็เท่ากับว่าไม่ถึงวัดโพธิ์....”


“เราเรียนวิชารักษาโรคภัยไข้เจ็บ การใช้มีดหมอจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ...

การใช้มีดหมอต้องรู้เคล็ดวิชา คือการกำหนดรู้ว่าสมุฏฐานของโรคอยู่ที่ใด เคล็ดวิชาของหมอโบราณที่ต้องท่องจำให้ขึ้นใจก็คือ....”

“ทุกข์อยู่ที่หัว กลัวอยู่ที่ใจ ไข้อยู่ที่ท้อง...”

อธิบาย ความได้ว่า..ตามธรรมดาคนเรานั้นมีเรื่องราวมากมายให้ได้คิด เมื่อคิดมากเข้าก็จะเกิดอาการเครียด ทำให้ปวดหัว อารมณ์หงุดหงิด เป็นบ่อยๆก็จะก้าวเข้าสู่โรคประสาท นี่คือความหมายของ “ทุกข์อยู่ที่หัว...”





คำว่า “กลัวอยู่ที่ใจ” กล่าวกันว่าคนเรานั้น ใจย่อมเป็นใหญ่ ใจเป็นสภาพที่เกิดก่อน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนสำเร็จ เกิดจากใจทั้งสิ้น ว่ากันว่า คนเราจะกลัวหรือจะกล้าก็อยู่ที่ใจทั้งสิ้น..

อุปมา ให้ชัดเจนเหมือนนักมวยที่กำลังขึ้นชกบนเวทีล่ะครับ โดนเข้าไปสองสามดอก เกิดอาการถอดใจ โดนหนักๆ เข้าก็นอนซะเลย เรียกไม่ยอมตื่น...


และ สุดท้าย “ไข้อยู่ที่ท้อง..” ครับจะเห็นว่าโรคส่วนใหญ่ มีสมุฏฐานจากท้องซะเป็นส่วนมาก คิดมาก กรดแก๊สในกระเพาะก็มาก หนักๆเข้าเลยพาลปวดท้อง กลายเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ..

อีก อย่างอวัยวะส่วนใหญ่ก็อยู่บริเวณท้องทั้งนั้น ไล่เรียงดูได้ครับ ตับ ไต ไส้ ฯลฯ ว่ากันว่าคนเราจะอยู่จะตายก็อยู่ตรงส่วนนี้มากกว่าส่วนอื่น.....







สำหรับ”มีดหมอเล่มที่หลวงปู่ท่านใช้อยู่นั้น” ท่านได้รับจากโยมคนหนึ่ง ตั้งแต่สมัยหลวงปู่บวชได้สักห้าพรรษาครับ มีดหมอเล่มนี้เป็นสมบัติตกทอดกันมาหลายชั่วคน

เล่าลือกันว่าเป็น มีดที่แรงมาก คนที่ใช้ติดตัวมักจะมีเรื่องมีราว จนคนสุดท้ายที่ครอบครองได้สั่งไว้ก่อนตายให้นำมีดเล่มนี้ไปถวายให้ท่าน เมี้ยน วัดโพธิ์...นี่แหละครับคือที่มาที่ไปของมีดหมอเล่มนี้...


ขอ พูดถึง”หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค” สักนิดครับ หลวงพ่อปานองค์นี้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ คุ้นหูคุ้นตากับบรรดาผู้นิยมวัตถุมงคล..

พระที่หลวงพ่อปานทำขึ้นก็ คือพระเนื้อดินเผา รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปลักษณ์เป็นพระพุทธปางประทับบนสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น ไก่ นก ปลา ฯลฯ เชื่อกันว่าหลวงพ่อปานท่านเป็นพระเถระที่ยิ่งด้วยบารมีเพราะท่านได้ตำรา เทวดามาจากสวรรคโลก

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด



นอกจากนี้หลวงพ่อปาน ท่านยังได้ชื่อว่าเป็นพระหมอรักษาโลกและถอดถอนคุณไสยที่เก่งมากๆเลยครับ สำหรับวิชาที่สร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานอีกอย่างหนึ่งคือ “วิชายันต์เกราะเพชร”

ถึงตรงนี้คงขอล่ะเรื่องวิชายันต์เกราะเพชร ไว้ก่อน เพราะผมเองยังไม่มีความรู้พอที่จะอธิบายได้ชัดแจ้ง เนื่องจากวิชานี้มีกระบวนการและขั้นตอนมากมายเหลือเกิน แต่ที่สำคัญคือ

“การทำวิชานี้ให้สำเร็จต้องใช้จิตของผู้ทำเป็นสิ่งสำคัญ...”

หากวัด เอาจากวิชาอาคมที่หลวงปู่เมี้ยนได้ร่ำเรียนมา การผ่านครูบาอาจารย์ที่มีวิชาแกร่งกล้าก็น่าจะทำให้หลวงปู่หยุดที่จะเรียน รู้ได้แล้ว แต่ถ้าทำอย่างนั้นมันก็คงจะทำให้สมภารหนุ่มแห่งวัดโพธิ์กบเจา ดูจะหยาบเกินไป..

“มวยหลักคือมวยที่มีฝีมือ แต่ก็ใช่ว่ามวยรองจะไร้ความสามารถซะทีเดียว..”




หลวงพ่อขัน แห่งวัดนกกระจาบ ชื่อนี้คงคุ้นหูบรรดานักไสยศาสตร์อีกแน่นอน..มีคำบอกเล่าของชาวบ้านย่านบางบาลว่า

หลวง พ่อขันรูปนี้มีอาคมแก่กล้านัก เสกใบไม้ให้เป็นต่อเป็นแตน เสกกระต่ายจากหัวปลี สำคัญคือมีวิชาสักยันต์คงกระพันชาตรีชื่อว่า “สักบุตรลม..”

ตำราไสยศาสตร์บันทึกไว้ว่า วิชาสักบุตรลม เป็นการสักยันต์ที่ละสองคน สักแล้วให้สาบานกันว่า จะไม่ฆ่ากันเอง ใครผิดสัจจะให้ถึงแก่ความฉิบหาย ...

เล่าลือกันทั่วคุ้งลำน้ำน้อยว่า ...คำสาบานนี้รุนแรงยิ่งนัก เพราะเคยมีคนที่ได้รับการสักจากหลวงพ่อขันไปแล้วคิดร้ายต่อกัน ผลก็คือผู้นั้นมีอันเป็นไปทันที..

นอกจากหลวงปู่เมี้ยนจะได้รับการ ถ่ายทอดวิชาการสักยันต์จากหลวงพ่อขันแล้ว การทำเชือกสนตะพายควายธรรมดา ให้มีอานุภาพสูง คงกระพันเป็นยอด ขนาดลงน้ำปลิงไม่เกาะ หลวงปู่ก็ได้รับถ่ายทอดมาจนหมดสิ้น..




แต่วิชาสำคัญที่ผมจะพ่นถึงตอนนี้คือ “การทำน้ำมนต์” หลวงปู่เล่าให้พวกเราฟังว่าหลวงพ่อขันได้เสกน้ำมนต์ให้หมุนอยู่ในบาตรได้ อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ก่อนที่ท่านจะสอนวิชาการทำน้ำมนต์ดังกล่าวให้หลวงปู่เมี้ยนจนหมดสิ้น รวมไปถึงการทำ”น้ำมนต์สารพัดนึก” อีกด้วย ...

ครั้งหนึ่งผมเคยกราบ นมัสการ”พระมหาฉลอง วัดสุทัศน์ฯ กทม.” ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ ท่านเมตตาเล่าให้ผมฟังว่า สมัยตอนที่ท่านยังเป็นพระน้อยอยู่ที่อยุธยา เคยได้ไปนอนอยู่ในห้องเดียวกับหลวงปู่เมี้ยน

กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เมี้ยนคือตื่นแต่เช้า สวดมนต์เสร็จแล้ว ท่านจะมานั่งทำน้ำมนต์ให้กับญาติโยม...

เวลา ทีทำใบหน้าของหลวงปู่จะแดงกล้ำ จนได้ยินเสียง เจี๊ยบ ๆ นั่นแหละท่านจึงหยุดเสก ครั้นพอพระมหาฉลอง เข้าไปสอบถาม หลวงปู่ตอบติดตลกว่า “เลี้ยงลูกเจี๊ยบไว้ในโอ่งน้ำมนต์...”





สิ่งที่หลวงพ่อขัน มอบให้กับหลวงปู่เมี้ยนอีกอย่างก็คือ “ไม้ครู..” ซึ่งเป็นไม้ไผ่ตันลงอักขระจารด้วยมือเต็มไปหมด ซึ่งหลวงปู่ท่านมักจะใช้ไม้ครูอันนี้ควบคู่ไปกับการใช้มีดหมอ..

เวลา ท่านไล่ผีหรือรักษาคนเจ็บ หากรายใดทนไม่ไหวคิดจะหนี หลวงปู่มักจะใช้ไม้ครูดังกล่าวดึงเข้ามาอีก เช่นเดียวกันครับที่หลวงปู่ชอบสัพยอกกับบรรดาญาติโยมที่มากับคนไข้ว่า...

”นี่แหละมือวิเศษ เพราะมันสั้นได้ ยาวได้..”




มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากพอที่จะบอกให้พวกเราทราบได้ว่า

“มนุษย์ใม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่นิยมความรุนแรง...”

แต่ ถ้ากับสิ่งไม่มีชีวิตที่เราเรียกว่า “ผี” หากบังเอิญมีใครโชคดีได้เจอเข้า เพื่อนๆคิดที่จะปฏิบัติตัวหรือปฏิบัติต่อ “เพื่อนรักต่างมิติ” กลุ่มนี้อย่างไรครับ ถ้าคิดอะไรไม่ออกนอกจากความกลัว..ลองฟังความคิดของหลวงปู่เมี้ยนกันครับ...

หลวงปู่มีหลักปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง...

ไม่ว่าจะเป็นคนหรือ วิญญาณร้ายใดๆก็ตาม ท่านจะใช้วิธีการเอาความอ่อนโยนเข้าหา ไม่นิยมความแข็ง หรือการเผชิญหน้า ให้คุณธรรมความดีลบล้างความอำมหิต เลวร้ายทั้งปวง...


“การ อ่อนเข้าหาเขา อย่างน้อยก็ลดความรุนแรงของเขาลงได้ครึ่งหนึ่งแล้ว แทนที่เขาจะเพิ่มความรุนแรงใส่ เราก็หยุดความรุนแรงนั้นซะ ด้วยวิธีพยายามพูดปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน...”

ต่อคำพูดสอนของหลวงปู่ ท่านได้เมตตายกตัวอย่าง “คนโกรธสองคนที่ประจันหน้ากัน..” ท่านว่า

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
“...คน หนึ่งระบายอารมณ์ร้อนด้วยคำพูดรุนแรง อารมณ์ฉุนเฉียว ขณะที่อีกคนพยายามหักห้ามใจ ไม่ตอบโต้ด้วยคำพูดหรือการกระทำที่รุนแรง ประเภทมึงด่าไปกูตอกกลับมา...

เมื่อต่างคนต่างแรง เหมือนกาน้ำที่อยู่บนเตาไฟ ยิ่งโหมไฟเข้าไป น้ำที่เดือดอยู่แล้วจะเดือดยิ่งขึ้น อาจอัดดันให้ระเบิดได้เมื่อควันหรือไอน้ำระบายออกมาไม่ทัน..

แต่ถ้า เห็นว่าน้ำเดือด เราลดไฟลงให้อ่อนหรือดับไฟในเตาเสียเลย ความร้อนของน้ำในกาก็จะค่อยๆลดลง ที่เดือดก็จะหายเดือด ทีสุดแล้วก็จะเย็นเมื่อความร้อนระเหยไปหมดแล้ว..”

จะว่าไปแล้ว เรื่องที่ใครๆคิดว่าจะร้ายก็กลายเป็นดีได้ หลวงปู่เมี้ยนท่านมักจะเลือกใช้วิธีนี้กับทุกคน และทุกปัญหาที่ท่านต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย..

แม้แต่กับบรรดา วิญญาณภูตผีปีศาจ ถึงท่านจะมีวิชาอาคมและพลังจิตที่เหนือกว่าสามารถหักล้างลงไปได้ หลวงปู่ท่านกลับเลือกใช้ “ไม้อ่อน” เข้าหา...

หลังจากที่ได้เสาะหาพระอาจารย์หรือหมอผีหลายท่านที่มีชื่อเสียง แต่ก็ไม่สามารถแก้ได้ กระทั่งมีญาติคนหนึ่งแนะนำให้ไปหาหลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา...หลวงปู่ได้ตรวจสอบแล้วจึงรับอนุเคราะห์เป็นภาระให้ด้วยความ เมตตา..

หลวงปู่ได้ใช้วิธีนิ่มนวลชี้ให้วิญญาณอาฆาต ได้เห็นถึงบาปบุญคุณโทษ หากวิญญาณอาฆาตทำให้ผู้หญิงคนนี้ตายไป ก็ไม่ใช่ว่าวิญญาณนั้นจะได้ไปผุดไปเกิดในทันที ซ้ำยังต้องรับโทษทัณฑ์ทุกข์ทรมานสืบต่อไปอีก ดังนั้นการอโหสิกรรมต่อกันจะเป็นทางที่ดีที่สุด..

หลังจาก”วิญญาณ ภูตผี ปีศาจ” ที่ใครๆ คิดว่าไม่มีในโลก (แต่ ณ ขณะนั้นกลับมีอยู่ที่วัดโพธิ์กบเจา) ได้รับฟังคำสอนของหลวงปู่ที่ชี้แจงให้เห็นถึงบาปบุญคุณโทษนานพอสมควร จึงยอมออกจากร่างหญิงคนนั้นไป...


“คนเราเมื่อตายไปแล้ว ก็มีแต่กรรมดี กรรมชั่ว ที่ตนเองกระทำนั่นแหละ ที่จะติดตัวเราไป กรรมเป็นกำเนิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมของตัวเอง...”

พวกผมเคยนั่งล้อมวงถาม หลวงปู่ว่า ผี มีหน้าตาอย่างไร น่ากลัวไหม แทนคำตอบท่านกลับนั่งนิ่งๆ ตามแบบของท่าน ครั้นพอหนักๆเข้า ชะรอยท่านคงจะรำคาญเลยถามพวกเรากลับว่า

“พวกเอ็งกลัวผีไหม” แน่นอนคำตอบของทุกคนคือ “กลัว”

ทั้งๆที่ยังไม่เคยเห็นเลยว่าผีหน้าตาเป็นอย่างไร คำตอบของหลวงปู่ที่สวนออกมาทันที ทำให้พวกเราต้องรูดซิปปากทันทีคือ...



“ให้ไปคิดดูใหม่ ค่อยๆ คิดก็ได้ พวกเอ็งกลัวผี หรือ กลัวตาย..”

ถอนหายใจยาวๆ แล้วนั่งคิดครับ..

จำ ได้ว่าในวันนั้นพวกเราคำตอบแบ่งออกเป็นสองอย่าง แต่ก็ยังไม่มีการให้ธงคำตอบมาจากหลวงปู่ เพื่อแต่ท่านได้ให้ชิ้นส่วนจิ๊กซอร์ของความคิดไว้ชิ้นหนึ่งว่า “กลัวอยู่ที่ใจ..” เพื่อนๆ ละครับเคยลองคิดไหมครับว่า “เรากลัวอะไร กลัวผี หรือ กลัวตาย...”


สำหรับตัวผม ตอบใจตัวเองครับว่า เรื่องของความกลัวนี่เป็นอันตรายของจิตใจเสียจริงๆ ไม่ว่าจะกลัวอะไร สำหรับบางคนแล้วมีอาการกลัวผีเอามากๆ

ขนาดว่าเห็นอะไรวับๆแวมๆ หัวใจหยุดเดินเอาดื้อๆ ผมเชื่อว่ามีหลายคนอาจจะบอกว่าไปกลัวผีแต่ถ้าไม่หลอกตัวเองนัก คาดว่าภายในใจลึกๆ ก็ยังคงหวาดกลัวอยู่ดี จะว่าไปแล้วได้มีนักจิตวิทยาบางท่านเคยกล่าวไว้ว่า..

“ความคิดในเรื่องของความกลัว มันฝังอยู่ในสัญชาตญาณกลัวตายของคน..”

ผมเลยได้ข้อสรุปกับหัวใจว่า..

“ตราบใดที่เรากลัวผี ตราบนั้นเราก็ยังกลัวตาย และตราบใดที่เรากลัวตาย ตราบนั้นเราก็ยังคงกลัวผีอยู่นั้นเอง”

เหมือนกับภาษากฏหมายละครับ

“อุบัติเหตุ กับ เหตุสุดวิสัย..”

สองคำนี้ต่างกันอย่างไร ชาวบ้านรากหญ้าคงสั่นศรีษะพร้อมกับบอกว่า “แฟ๊ป กับ ผงซักฟอก” คือคำตอบสุดท้าย..

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-2 17:08 | ดูโพสต์ทั้งหมด




จริงๆแล้วเรื่องราวของหลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ ยังคงมีอีกมากมาย เช่นเรื่องของการออกแสวงหาครูบาอาจารย์ เช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อห่วง วัดบางยี่โท ฯลฯ

ร่วมไปถึง ประสบการณ์ในวัตถุมงคลที่หลวงปู่ได้ปลุกเสก เคล็ดลับบูชาตะกรุด การรักษาคนไข้ การต่อกระดูก หรือคำสั่งสอนต่างๆ

ซึ่งผมคงจะนำมาพ่นในที่นี้ไม่ไหว ขอยกยอดสุทธิไปลงในงบบัญชีหน้าใหม่ละกันครับ ..

เพียงแต่ว่า”บันทึกน้อย”ของผมตอนนี้ เขียนขึ้นเนื่องจากใกล้วันสำคัญ วันหนึ่งของหลวงปู่เมี้ยน คือ ๑๙ ตุลาคม ของทุกปี



หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ ท่านได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ในเวลา ๑๖.๐๐ น.ของวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สิริอายุได้ ๘๑ ปี

ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ที่เฝ้าดูอาการ

“ร่มโพธิ์” ของวัดโพธิ์กบเจาแห่งนี้ล้มลงแล้ว สิ้นสุดหลวงปู่เมี้ยน ผู้โด่งดังจากวิชา ๕ ม. คือ

“น้ำมัน น้ำมนต์ ชานหมาก มีดหมอ และไม้ครู....”


เห็นว่าน่าสนใจครับ เลยนำเสนอให้อ่านกัน

ที่มา ..oknation.net  ทั้งภาพและข้อมูล ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

...........................................

ที่มา http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=14774

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้