ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>> ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ (พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7) <<

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:36 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หน้ากาฬ  หรือ เกียรติมุข




พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า
เกียรติมุข (อ่านว่า เกียด-มุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ  ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์  ตากลมถลน  ไม่มีคาง  ปากแสยะ  ไม่มีขากรรไกรล่าง  ไม่มีร่างกาย  ไม่มีแขนขา  เชื่อกันว่า  เป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู  เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน  ขับไล่เสนียดจัญไร  และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ  มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น  เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง  ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์และที่ฐานพระพุทธรูป , กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.


      ประวัติ เกียรติมุข หรือหน้ากาฬ เป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มหน้าบันของโบราณสถาน โดยทั่วไปมักทำคู่กับลายมกร โดยทำลายมกรออกมาทั้งสองข้างของเกียรติมุข ลักษณะของเกียรติมุขจะทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ หรือใบหน้าของอสูรที่ดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลม และถลน ปากกว้างเห็นฟันและเขี้ยว ไม่มีฟันล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศีรษะ


22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:37 | ดูโพสต์ทั้งหมด


              คติความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติมุข ได้รับความนิยมอย่างมากในอินเดีย ทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ใช้เป็นสิ่งประดับตามเทวสถานและพุทธสถาน เพื่อแสดงความเป็นเกียรติและเป็นมงคล และขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้เข้ามาสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณภายใน

                ที่มาของเกียรติมุข เข้าใจว่ากำเนิดในประเทศอินเดียก่อน บางท่านกล่าวว่ามีการกำเนิดในประเทศใดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย อาจจะได้มาจากประเทศธิเบต บางท่านก็ว่ากำเนิดที่ประเทศจีน มีรูปแบบซึ่งเรียกว่า เต้าเจ้ ปรากฏอยู่ ภาชนะสำริดของจีน สมัยช่วง 850 - 880 ปีก่อนพุทธกาล เป็นทำนองเดียวกับเกียรติมุขของอินเดีย หมายถึงเทพเจ้าผู้ตะกละ จากนั้นได้แพร่ไปทางบกไปยังประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ

                ในประเทศไทย สันนิษฐานว่า เกียรติมุขคงแพร่เข้ามาในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย โดยได้พบหลายแห่ง เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทำเป็นรูปประดับลายกาบที่เชิงซุ้มเจดีย์ สำหรับที่สุโขทัย พบที่ทำเป็นลายประดับยอดซุ้มหน้าบัน วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:38 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตำนานความเชื่อ กำเนิดหน้ากาฬ



หน้ากาฬ บนซุ้มประตูปราสาทบายน


                  ตำนานอินเดียเล่าถึงกำเนิดของหน้ากาฬนี้ว่า ครั้งหนึ่งมีพญายักษ์ชื่อชลันธรบำเพ็ญตบะแก่กล้า จนได้รับพรจากพระศิวะไม่ให้ผู้ใดต่อกรด้วยได้จึงเกิดความลำพองทำร้ายข่มเหงทั้งยักษ์ เทพ และมนุษย์ ต่อมา ยักษ์ชลันธรได้ให้พระราหูไปบอกพระศิวะให้มารบกับตน หากพระศิวะแพ้จะริบตัวนางปารพตีมเหสีเป็นของตน

                  พระศิวะได้ฟังดังนั้นก็พิโรธเกิดมียักษ์หน้าสิงห์โตกระโดดออกจากหว่างพระขนงจะกินพระราหู พระราหูเห็นดังนั้นก็ตกใจขอให้พระศิวะช่วย พระศิวะทรงห้ามยักษ์ไม่ให้ทำร้ายพระราหู

                  ยักษ์กล่าวว่าถ้าอย่างนั้นขอให้กินสิ่งอื่นแทนพระราหู พระศิวะตรัสให้ยักษ์นั้นกินแขนขาของตัวเอง ด้วยความหิวโหยยักษ์ได้กัดกินแขนขาของตนหมดแล้วยังไม่อิ่ม จึงกัดกินท้องและอกจนหมดสิ้นเหลือเพียงส่วนหัว



                   พระศิวะเห็นเช่นนั้นก็เกิดความสงสาร ตรัสให้พรยักษ์นั้นให้อยู่ที่ประตูวิมานของพระองค์ตลอดไป ผู้ใดไม่เคารพจะไม่ได้รับพรจากพระองค์ หลังจากนั้นพระองค์เสด็จไปปราบยักษ์ชลันธรได้สำเร็จ

                  สมัยโบราณถือว่าหน้ากาฬนี้เป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่กินทุกสิ่งแม้แต่ตัวเอง รวมทั้งเป็นผู้ที่คอยดูแลฝูงปศุสัตว์เนื่องจากพระศิวะได้รับการยกย่องเป็นปศุบดี ผู้เป็นใหญ่ในฝูงสัตว์ หน้ากาลอันเปรียบเสมือนบุตรของพระองค์คงจะมีฤทธิ์ปกป้องสัตว์เลี้ยงได้ ลายหน้ากาลนี้สามารถพบเห็นได้ทั้วไปในเทวสถานของฮินดู และนิยมสร้างกันอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซีย


ที่มาข้อมูล : http://www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=27&wpid=0037

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:40 | ดูโพสต์ทั้งหมด


      ผมอ่านมาจากนิตยสารMBA May 2005 ซึ่งตอนนี้มีบทเรื่องของอารยธรรมทางตะวันออกด้วย บทความคัดมาจากweb www.goodmedia.co.th  เขียนโดย
สยามภูมิ สังวรชาติ

      "..กาล หรือ กาละ (Kala) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูเราๆ ท่านๆ เท่าใดนัก ในทางกายภาพ กาละ ถูกวาง Position ให้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมประดับอาคารชนิดหนึ่ง แต่ความหมายในด้านคติความเชื่อกลับลึกวึ้งเสียยิ่งกว่า นัยหนึ่ง กาละจะคอยทำหน้าที่พิทักษ์ คุ้มครองทางเข้าอาคารศักดิ์สิทธิ์ อีกนัยหนึ่ง กาละได้ชื่อว่าเป็นเทพผู้กลืนกินตนเองเป็นอาหาร และเมื่อไม่อิ่ม "เวลา" คือโภชนะอันสุดวิเศษ !

      ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ อธิบายว่า กาละ เป็นรูปแบบหนึ่งในการทำลวดลายปูนปั้นประดับเหนือทางเข้าอาคารศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ทั้งของชาวตะวันตก และตะวันออก เรียกรวมๆ ได้ว่าคติการทำ "กีรติมุข" หรือ เกียรติมุข (Kirtimukha : Glory Mask) ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการถ่ายเททางวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยกรีก-โรมันเข้ามาเรืองอำนาจ หรือจะด้วยความบังเอิญกันแน่

      หากแปลตรงตัวแล้ว กีรติมุข จะมีความหมายว่า "ใบหน้าอันทรงเกียรติ" แต่ในอีกความหมาย "มุข" นอกจากหมายถึง "ใบหน้า" แล้ว ยังหมายถึง "ทางเข้าอาคารด้านหน้า" อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ กีรติมุข จึงแปลได้อีกว่า การให้เกียรติ หรือเคารพต่อทางเข้าอาคารสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

      ผู้รู้ด้านโบราณคดีชี้ว่า คติความเชื่อเกี่ยวกับกีรติมุขในโลกตะวันออกเด่นชัดมากในอินเดียโบราณ คนไทยสมัยโบราณเรียก "หน้ากาล" ใช้เป็นสิ่งประดับตามเทวสถานและพุทธสถาน เพื่อแสดงความเป็นเกียรติ เป็นมงคล และขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้เข้ามาสู่ศาสนสถาน มีลักษณะเป็นรูปอสูร หรืออมุษย์ หน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ดูดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลม เบิกถลน ปากกว้างเห็นฟันและเขี้ยว ไม่มีฟันล่างและคาง ไม่มีลำตัว แต่มีแขนออกจากด้านข้างของศีรษะ

        ขณะเดียวกัน ที่มาของทั้งคติการทำ และรูปลักษณ์ของ กาละ ก็ยังไม่เป็นที่สิ้นสุดเช่นกันว่า กำเนิดในประเทศอินเดียเอง หรือแพร่มาจากธิเบต และจีนกันแน่ เพราะในคติจีนเองก็มีการทำรูปซึ่งเรียกว่า หน้ากากเต้าเจ้ หรือ เต้าเที่ย อันเป็นความเชื่อตามหลัก "เฟิ่งซุ่ย" ปรากฏอยู่บนภาชนะสำริดของจีน สมัยช่วง 850-880 ปีก่อนพุทธกาล คล้าย กาละ ของอินเดีย ต่อมาด้วยอิทธิพลของศาสนาฮินดู และพุทธของอินเดียที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ดินแดนอุษาคเนย์ จึงทำให้พบเห็นคติความเชื่อนี้ได้แผ่ขยายทั่วภูมิภาคแถบนี้ด้วย

      ในประเทศไทย สันนิษฐานว่าคตินี้คงแพร่เข้ามาในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย โดยได้พบการทำกีรติมุขเป็นลายหน้ากาลหลายแห่ง เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทำเป็นรูปประดับลายกาบที่เชิงซุ้มเจดีย์ สำหรับที่สุโขทัย พบที่ทำเป็นลายประดับยอดซุ้มหน้าบัน วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย

      เรื่องราวของ กาละ ที่ต่อมาได้ถูกนำไปทำเป็นกีรติมุขประดับอาคารนั้น ตำนานว่าเป็นบุตรองค์หนึ่งของพระศิวะ (พระอิศวร) ถือเป็นเทพผู้ตะกละ กลืนกินแม้กระทั่งกาลเวลา มีตำนานอินเดียเล่าถึงกำเนิดของ หน้ากาล ไว้ว่า มีพญายักษ์ชื่อ ชลันธร บำเพ็ญตบะแก่กล้า จนได้รับพรจากพระศิวะไม่ให้ผู้ใดต่อกรได้ จึงเกิดความลำพองทำร้ายข่มเหงทั้งยักษ์ เทพ และมนุษย์ ต่อมา ยักษ์ชลันธร กำเริบเสิบสานให้ พระราหู ไปบอก พระศิวะ ให้มารบกับตน หากพระศิวะแพ้จะริบตัว นางปารพตี มเหสีไปเป็นเมีย พระศิวะได้ฟังก็พิโรธ จนเผลอลืมตาที่สามที่อยู่ระหว่างพระขนง (คิ้ว) ขึ้น เกิดมียักษ์หน้าสิงห์โต (คือกาละ) กระโดดออกมาจะกินพระราหู พระราหูก็ตกใจขอให้พระศิวะช่วย พระศิวะทรงห้ามไม่ให้กาละทำร้ายพระราหู ยักษ์กล่าวว่าถ้าอย่างนั้นขอกินสิ่งอื่นแทน พระศิวะจึงสั่งให้ยักษ์กินตัวเอง ด้วยความหิวยักษ์ได้กัดกินตัวเองทีละส่วนๆ จนเหลือเพียงท่อนแขน กับใบหน้าที่ไม่เหลือกระทั่งคาง กรามล่าง และริมฝีปากล่าง พระศิวะเห็นเช่นนั้นก็เกิดความสงสาร ตรัสให้ยักษ์ไปให้อยู่ที่ประตูวิมานของพระองค์ตลอดไป ผู้ใดไม่เคารพจะไม่ได้รับพรจากพระองค์ หลังจากนั้นจึงเสด็จไปปราบยักษ์ชลันธรได้สำเร็จ

    บ้างก็เล่าเพี้ยนไปเล็กน้อยว่า พระศิวะลงโทษความดื้อรั้นของกาละ ด้วยการให้ไปทำหน้าที่เฝ้าประตูวิมาน โดยไม่มีสิทธิ์รับอาหารใดๆ ยามหิวจำต้องกลืนกินอวัยวะต่างๆ ทีละส่วน จนเหลือแต่หัวกับแขน ด้วยคำสาปแช่งของพระศิวะ "กาละ" จำต้องทำหน้าที่ปกปักรักษาศาสนสถาน โดยใช้ความน่ากลัวของใบหน้าอันดุร้ายของตนเองไว้ข่มขู่ ขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้กร่ำกรายเขามาได้ หน้ากาลยังทำหน้าที่เป็นผู้ที่คอยดูแลฝูงปศุสัตว์เนื่องจากพระศิวะได้รับการยกย่องเป็นปศุบดี ผู้เป็นใหญ่ในฝูงสัตว์ หน้ากาลอันเปรียบเสมือนบุตรของพระองค์คงจะมีฤทธิ์ปกป้องสัตว์เลี้ยงได้



      แม้ปัจจุบันคติการทำรูปปูนปั้นของผู้พิทักษ์อาคารศาสนสถานตามประเพณี ดูจะอ่อนล้าลงไปมาก อาจเนื่องเพราะการปรับตัวทางศิลปสถาปัตย์ที่เรามุ่งเข้าหาตะวันตกมากขึ้น คติของช่างหรือเชิงศิลป์ที่เคยตีโจทย์โลกธรรม หรือจักรวาลวิทยาให้สัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาอย่างลึกซึ้งและรู้จริงจึงคลี่คลายไป ความร่วมสมัยและเข้าใจง่ายขึ้นกลายเป็นคำตอบใหม่

      ในอีกมิติหนึ่ง การมาถึงของคติ "พระภูมิเจ้าที่" ที่รูปลักษณ์ทางกายภาพแลดูสงบ ไม่ก้าวร้าว และเป็นมิตรกว่า ดูจะเข้าถึงชาวบ้านง่ายกว่า จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์อาคารสถานต่างๆ ไปในความรู้สึกของผู้คนแทน
ถึงอย่างนั้น หน้ากาล หรือกาละ หรือเทพผู้กลืนกินเวลา และตนเองเป็นอาหาร ก็สะท้อนนานาทัศน์ของภูมิปัญญาตะวันออกที่เราเองเห็นค่า ฉุกคิด และคล้อยตาม...

      กาละ หรือกาลและเวลาสัมพันธ์กันชนิดแยกไม่ออก และใกล้ตัวเรากว่าที่คาด ถ้าปล่อยวันเวลาให้ล่วงไปๆ โดยไม่คิดจะสร้างสรรค์สิ่งดีงามใดๆ ขึ้นมาเลย ก็เท่ากับว่า เราเองก็กำลังปล่อยให้เจ้ากาละกลืนกินเวลาของเราให้หมดไปอย่างไร้ค่า  ผู้ใหญ่บางคนชอบเปรียบเปรยว่า กาลเวลากลืนกินทุกสิ่ง สมกับคำที่ว่า สายน้ำไม่เคยคอยท่า กาลเวลาไม่เคยคอยใคร หรือแม้แต่หนังสือ How to บริหารจัดการของฝ่ายตะวันตก When The Future Catch You ก็ดูจะมีฐานคิดที่ไม่ต่างกับการบริหารเวลาของอารยธรรมฝ่ายตะวันออกแต่อย่างใด หากแต่การบริหารเวลาแบบตะวันออก ความสุขกับผลิตภาพ (Happiness & Productivity) นั้นแยกกันไม่ออก และ Utilities หรืออรรถประโยชน์สูงสุดก็มิใช่คำตอบสุดท้ายที่สมบูรณ์ของคำว่า "ความสำเร็จ"

         อย่างไรเสีย แม้คนเราจะเกิดมาด้วยอะไรๆ ที่ต่างกันไป แต่เชื่อว่าพระเจ้าก็ประทานเวลามาให้เราเท่ากันทุกๆ คน ความต่างหนึ่งจึงมาจากการบริหารจัดการเวลาที่มีเท่ากัน แต่คุณภาพและความสุขต่างกันตามปัจเจกบุคคลนั่นเอง..."


ที่มาข้อมูล : http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=1648

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-1 10:45 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ทำไมดวงตราอาถรรพ์ ฯ ถึงมีสามสี ??



ดวงตราอาถรรพ์ สีแดง หมายถึง ดวงอาทิตย์ แทนความหมายของ พ่อ

ดวงตราอาถรรพ์ สีขาว หมายถึง พระจันทร์ แทนความหมายของ แม่

ดวงตราอาถรรพ์ สีดํา หมายถึง โลก แทนความหมายถึง ลูก



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
26#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-27 14:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
มีลูกศิษย์หลวงปู่เวกท่านนำพระคาถาหิรัญราชมาถวายหลวงปู่ชื่นพร้อมกับผงหิรัญราช
หลวงปู่ท่านสำเร็จแล้วจึงใช้คาถาได้เข้มขลังและเรียกผงหิรัญราชมาจากอากาศได้
ท่านเป็นอีกหนึ่งองค์ที่สำเร็จวิชาหิรัญราชแต่น้อยคนที่จะรู้
ผงหิรัญราชนี้อยู่ในทุกอณูเนื้อดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ จร้าพ่ิอแม่พี่น้อง

จ๊อ
27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-4 09:38 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
28#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-4 09:40 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ผู้นำวัตถุมงคลชุดนี้ไปบูชากประจักษ์แจ้งถึงอิทธิคุณ มีโชคมีลาภ


บางบ้านฮวงจุ้ยไม่ดีนำดวงตราอาถรรพณ์ติดหน้าบ้าน

กิจการงานก็ดีขึ้นทันตาเห็น

บางรายก็ญาติป่วยไม่สบายอาการสาหัสอธิษฐานขอชีวิตจากพระองค์ท่าน
ก็อยู่รอดปลอดภัยอย่างน่าอัศจรรย์ใจเป็นยิ่งนัก


และมีอีกหลายรายที่โทรศัพท์เข้ามารายงานอิทธิคุณ
ถึงบารมีอันยิ่งใหญ่ของพระองค์เจ้า ต่อไปในภายหน้า
วัตถุมงคลชุดนี้จะเป็นวัตถุมงคลแถวหน้า
ภายใต้ชื่อ
" หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ "






ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้