ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ
›
เรื่องราวของ หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ และวัตถุมงคลต่างๆ
»
>> ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ (พระราชลัญจกรปร ...
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: chakpetch
>> ดวงตราอาถรรพณ์ชัยมหานาถ (พระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7) <<
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8069
1
#
โพสต์ 2023-8-25 20:56
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
"ชัยวรมัน ที่ ๗" จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิขอมโบราณ และ ดินแดนอินโดจีน ที่เราควรยกย่องเป็นบรรพกษัตริย์และบรรพบุรุษร่วมกันของชาวอินโดจีน
....ในประเทศไทย มีโบราณสถานที่เป็นลักษณะของราชอาณาจักรขอมโบราณหลงเหลืออยู่มากมาย ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคอีสาน ทั้งนี้เนื่องจากก่อนเกิดราชอาณาจักรสุโขทัย ดินแดนแถบนี้ล้วนเคยถูกปกครองโดยจักรวรรดิขอม
.. อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กษัตริย์ขอมทีทรงมีอิทธิพลต่อดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันมากทีสุดเห็นจะเป็นพระเจ้าชยวรมันที ๗ เนื่องจากพระองค์ได้สร้างอนุสรณ์สถาน และโบราณวัตถุไว้มากมาย
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762?) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 1150 - 1160) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรขอม ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้วย
นอกเหนือจากการสงครามทีทรงปราบได้ทุกทิศแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายซึ่งสันนิษฐานเป็นเมืองเกิดของพระมารดา และปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และยังมีอาณาจักรละโว้ เมืองศรีเทพ อีกด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ศาสตราจารย์ หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา”
จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงที่พักคนเดินทางว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่างๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย ซึ่งศาสตรจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล พบว่าที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร ..
จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุอีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย
....พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ในประมาณปี พ.ศ. 1758 หรือ พ.ศ. 1762 เชื่อกันว่ามีพระชนม์ชีพยืนยาวถึง 94 ปี ได้ฉลองพระนาม
หลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตะ” หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
....หลังสิ้นรัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ และการปรากฏขึ้นของราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย อาณาจักรขอมก็เสื่อมถอยลงและสิ้นสลายไปในที่สุด
...พระราชกรณีกิจของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่พระองค์ทรงสร้างไว้ ณ ดินแดนที่เป็นประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียตนาม อันเป็นเอนกคุณูปการ จึงควรที่ประชาชนในย่านนี้จะควรยกย่องพระองค์เป็นบรรพกษัตริย์ หรือบรรพชน ร่วมกัน โดยไม่แยกเชื้อชาติภาษา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8069
2
#
โพสต์ 2023-10-10 07:20
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...