ธรรมในสมัยพุทธกาล อิจฉา ริษยา จิตมัวแต่จ้องจะก่อทุกข์ เหมือนจุดไฟเผาตัวเอง
ธรรมในสมัยพุทธกาล
อิจฉา ริษยา จิตมัวแต่จ้องจะก่อทุกข์ เหมือนจุดไฟเผา
ตัวเองhttp://cx.lnwfile.com/bku12k.jpg
ในสมัยพุทธกาลมีบุคคลผู้หนึ่งที่มีความริษยารุนแรงจนทำให้ตนเองถึงแก่ชีวิตมาแล้วนั่นคือ พระนางติษยรักษิตา
พระนางติษยรักษิตาเป็นมเหสีองค์หนึ่งในพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหญิงที่งามพร้อมแต่มีจิตราคะแรงและมีความริษยารุนแรงมาก
พระนางติษยรักษิตา แม้จะมีความงดงามแต่ไม่พอพระทัยที่พระเจ้าอโศกทรงให้ความสนพระทัย เอาพระทัยใส่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา) มากกว่าตนเอง จึงได้พยายามทำลายล้างต้นพระศรีมหาโพธิ์
โดยการนำนมโคผสมยาพิษให้มหาดเล็กไปรดที่โคนต้นโพธิ์ทุกวัน ต้นโพธิ์ต้นนี้เกิดมาตั้งแต่สมัยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอายุเกือบ 300 ปี ถูกรดด้วยน้ำนมผสมยาพิษทุกวัน ก็ทนไม่ไหวยืนต้นตายไป
พอพระเจ้าอโศกมหาราชกลับมาจากราชกิจ เห็นต้นโพธิ์ยืนต้นตาย ทรงเสียพระทัยเป็นอันมากและต้องหาหน่อต้นโพธิ์มาปลูกเสียใหม่เป็นการด่วน
ครั้งหนึ่งพระนางติษยรักษิตาทรงหลงรักราชบุตรในพระเจ้าอโศกมหาราชนามว่า เจ้าชายกุณาละด้วยความที่พระองค์มีดวงตาที่งดงามมากและหวังจะเป็นชู้กับเจ้าชายกุณาละให้ได้ แต่ทว่าเจ้าชายกุณาละไม่เล่นด้วย
เพราะถือว่าพระนางติษยรักษิตาเปรียบเหมือนพระมารดาพระองค์หนึ่งทำให้พระนางติษยรักษิตาผูกอาฆาตกับเจ้าชายกุณาละไว้
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสถาปนาเจ้าชายกุณาละในตำแหน่งอุปราช ส่งไปครองเมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี ด้วยความรำลึกถึงพระราชโอรสผู้เปี่ยมด้วยความดีงาม พระเจ้าอโศกทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระราชโอรส ข้อความตอนหนึ่งทรงเตือนให้พระราชโอรสหมั่นศึกษาศิลปวิทยาเพื่อจะได้กลับมาสืบราชสมบัติแทนพระองค์
พระนางติษยรักษิตาผู้อิจฉาและหวังแก้แค้นจึงแอบแปลงสารเมื่อพระราชาเผลอแปลความจากการศึกษาวิชาการเป็น “จงทำให้ตนเองตาบอดเสีย” เมื่อจดหมายถึงมือเจ้าชายกุณาละ พระองค์ก็นึกว่าเสด็จพ่อสั่งให้ควักดวงตาทิ้ง จึงจัดการให้ควักดวงตาตนตามคำสั่งเสด็จพ่อเสียใครจะทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง
ในที่สุดพระองค์ก็ตาบอดสนิททั้งสองข้าง แล้วก็ส่งสารถึงเสด็จพ่อว่าได้กระทำตามพระราชประสงค์ของเสด็จพ่อทุกประการเรียบร้อยแล้ว เรื่องได้ล่วงรู้ถึงพระเจ้าอโศกภายหลัง พระเจ้าอโศกทรงเสียพระทัยมาก
ได้สืบสาวราวเรื่องได้ต้นตอคนแปลงสาร คือพระนางติษยรักษิตา จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตให้ตัดหัวของพระนางติษยรักษิตาในทันที
ความอิจฉาริษยาจึงเปรียบเหมือนการจุดไฟเผาตัวเอง ยิ่งอิจฉาก็ยิ่งเป็นทุกข์ มองไม่เห็นหน้าที่ของตนเองว่าตนเองควรทำอะไร ควรใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข จิตมัวแต่จ้องจะก่อทุกข์ให้กับคนอื่นซึ่งเป็นเหตุแห่งความอายุสั้นโดยแท้
{:6_200:}{:6_201:}{:6_202:}
หน้า:
[1]