แรงบุญมาก อาจชนะ แรงกรรม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lnw เมื่อ 2016-5-30 19:38http://upic.me/i/rq/clip_image002.jpg
องคุลีมาล ท่านสังหารคนมาแล้ว 999 คน นับเป็นกรรมอันหนัก จักส่งผลให้ท่านไปสู่ อบายแต่ท่านได้พบพระพุทธเจ้า และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทำให้กรรมที่ทำมาเหล่านั้นไม่สามารถส่งผลต่อไปได้ เพราะท่านจักปรินิพาน ไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว หมดสิ้นภพชาติ
สมัยพุทธกาลมีเรื่องของพระภิกษุรูปหนึ่งมีจิตห่วงผ้าสบงจีวรที่เพิ่งได้มาใหม่ซักตากไว้บนราวมรณภาพไปขณะผ้านั้นยังไม่แห้งจิตที่ผูกพันในผ้าสบงจีวรนั้นทำให้ไปเกิดเป็นตัวเล็นเล็กๆ เกาะติดอยู่กับผ้า
พระภิกษุอีกรูปหนึ่งเห็นผ้าสบงจีวรนั้นไม่มีเจ้าของแล้วก็จะนำไปใช้พระพุทธองศ์ทรงทราบได้ทรงมีพระพุทธดำรัสห้ามตรัสให้รอเพราะพระภิกษุรูปนั้นจะสิ้นภพสิ้นชาติของการเป็นเล็นในเวลาเพียงไม่กี่วันถ้าไปนำสบงจีวรนั้นไปขณะยังเป็นเล็นอยู่ก็จะโกรธแค้นจะไม่ได้ไปเสวยผลแห่งกุศลกรรมที่ได้ประกอบกระทำไว้เป็นอันมากนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ทรงรับรองว่าอำนาจจิตจะทำให้มนุษย์ไปเป็นสัตว์ได้
พระนางมัลลิกา เมื่อในเวลาใกล้จะสิ้นใจ แทนที่นึกถึง ทาน ที่พระนางเคยทำร่วมกันกับพระราชา ก็กลับไประลึกถึงที่เคยกล่าวโกหกไว้ครั้งหนึ่งแก่พระสวามี พอสิ้นใจจึงไปบังเกิดในอเวจีนรกแทน
ครั้นได้เห็นไฟนรกในอเวจีนั้นมีสีแดงประหนึ่งสีจีวรของพระ จึงระลึกได้ว่าเคยถวายทานบุญทำกุศลไว้มากมาย จึงกลับไปผุดขึ้นบนสวรรค์ชั้นดุสิต
นายตัมพทาฐิกะฉายาเพชฌฆาตเคราแดงทำหน้าที่ประหารนักโทษวันละคนหรือสองคนทุกวัน เป็นเวลา 55 ปี จนเข้าสู่วัยชรา ไม่มีแรงที่จะสังหารนักโทษในดาบเดียว ต้องซ้ำถึงสองหรือสามครั้ง จึงปลดเกษียณกลับมาอยู่บ้านพระสารีบุตรออกจากสมาบัติได้มาบิณฑบาต
นายตัมพทาฐิกะได้ใส่บาตและฟังธรรมจนบรรลุโสดาปัตติมรรค เมื่อพระสารีบุตรจากไปแล้ว ก็ไปถูกแม่โคขวิดตาย กรรมที่ได้สังการนักโทษมามากมายไม่สามารถส่งผลให้ไปอบายได้ นายตัมพทาฐิกะ ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า..มีลัทธิเดียรถีย์ สอนผิดหลักพุทธศาสนา
เพราะเป็นไปเพื่อการไม่กระทำอยู่ 3 ลัทธิ คือ
๑. ลัทธิ กรรมเก่า
เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท สอนว่า สุข-ทุกข์หรือไม่ ย่อมเป็นตามกรรมที่ได้ทำไว้แต่ปางก่กน
๒. ลัทธิ พระเป็นเจ้าบันดาล
เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรนิรมิตวาท สอนว่า สุข-ทุกข์หรือไม่ แล้วแต่เทพเจ้าดลบันดาล
๓. ลัทธิแล้วแต่โชค
เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท สอนว่า สุข-ทุกข์หรือไม่ ย่อมเป็นไปเอง ถึงเวลาสุข ก็สุขเอง ฯลฯ
ความเชื่อตามลัทธิสองอย่างแรก ทำให้เป็นผู้ไม่ขวนขวายกระทำความดี เพราะเชื่อว่าทำไปก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
เพราะเชื่อว่าทุกอย่างถูกกำหนดมาล่วงหน้าแล้ว
ส่วนความเชื่อในลัทธิที่สาม ก็ไม่ทำความหมั่นขยันขวนขวาย เพราะเชื่อว่าถ้ามีโชคดีวันใดก็สุขสบาย
ความเชื่อในลัทธิทั้งสาม จึงทำให้เป็นคนเกียจคร้าน เฝ้าแต่รอโชควาสนา กรรมเก่า เทพบันดาล ไม่คิคขวนขวายการใดๆ
พยายามทำทุกอย่างที่เป็นบุญ
หน้า:
[1]