kit007 โพสต์ 2013-7-4 20:15

~ การฝึกสมาธิเบื้องต้น ~

การฝึกสมาธิเบื้องต้น

สมาธิคือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง
การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน หรือความสิ้นไปของอาสวะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไร ก็จะทำได้ดี และได้เร็วกว่าคนปกติ ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน วิธีการทำสมาธิที่ได้ผลและเป็นที่นิยม ได้ถูกนำมากล่าวแนะนำไว้ในที่นี้แล้ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และขั้นตอนต่างๆ โดยท่านสามารถอ่านทีละหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้


http://www.dhammajak.net/board/files/_1_175.jpg



๑.การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ

ท่านพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) พระสายธุดงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งแห่งภาคอีสาน ได้เคยให้คำอธิบายวิธีการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน เวลาที่จะทำสมาธินั้นท่านได้อธิบายอย่างง่ายๆไว้ว่าทำได้ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน ในอิริยบททั้ง ๔ นี้เมื่อใดที่ใจเป็นสมาธิก็ถือว่าเป็นภาวนามัยกุศล ซึ่งถือเป็นกุศลกรรมสิทธิ์เฉพาะตัว ถือว่าได้บุญด้วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงพอสรุปจากคำแนะนำของท่านไว้ได้ดังนี้คือ
การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครม และไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจ
การนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน

kit007 โพสต์ 2013-7-4 20:15

๒.ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ


http://www.suntiworrayan.com/0lee2.jpg


๒.๑ การหาเวลาที่เหมาะสม เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้นจะทำให้หิวข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหาร และไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงนอนหรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น

๒.๒ การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ที่อึกทึก นอกจากได้สมาธิในขั้นต้นแล้ว และต้องการฝึกการเข้าสมาธิในที่อึกทึก

๒.๓ เสร็จจากธุระภาระกิจต่างๆ และกิจวัตรประจำวันแล้ว เช่นหลังจากอาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใครแล้วเป็นต้น

๒.๔ อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย ท่าที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลังใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง

๒.๕ ไม่ควรนึกถึงผล หรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด

๒.๖ ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ ๑๕ นาทีก็ต้องทำให้ได้เป็นต้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น

๒.๗ เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

kit007 โพสต์ 2013-7-4 20:16

๓.การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต

การทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธีและแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือ เป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้ วิธีนับแบบต่างๆพอกล่าวโดยย่อได้ดังต่อไปนี้คือ

๓.๑ นับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
๓.๒ นับลมแบบอรรถกถา
๓.๓ นับทวนขึ้นทวนลง

๓.๔ นับวน *   ๓.๑ การนับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พอหายใจเข้าก็นับหนึ่ง พอหายใจออกก็นับสอง หายใจเข้าต่อไปก็นับสาม และหายใจออกต่อไปก็นับสี่ บวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทีละหนึ่ง ตัวเลขที่นับมันก็จะไม่รู้จบ แต่ท่านอาจจะกำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดก็ได้ อาทิเช่นพอถึงหนึ่งร้อย ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นต้น คงไม่ต้องยกตัวอย่าง วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ง่าย และใช้สมาธิไม่มากนัก เพราะเหตุที่เราคุ้นเคยกับการนับในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เอาการนับมาควบเข้ากับจังหวะการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้มีจิตรู้ตัวอยู่เสมอนั่นเอง

    ๓.๒ การนับลมแบบอรรถกถา เป็นวิธีของท่านพระอรรถกถาจารย์ ที่ได้นำเอาตัวเลข มาเป็นเครื่องกำหนดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ ตามหลักคำสอนของท่านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือพุทธธรรม ของพระราชวรมุนี หน้า (๘๖๕) หลักการนับแบบนี้ช่วยฝึกให้ใจมีสมาธิจดจ่อมากกว่าวิธีแรกวิธีนับมีสองแบบ แบบแรกให้นับเป็นคู่ คือเมื่อหายใจเข้า ก็ให้นับว่า ๑ เมื่อหายใจออกให้นับว่า ๑ พอเที่ยวต่อไปหายใจเข้าให้นับว่า ๒ หายใจออกก็ให้นับว่า ๒ สรุปก็คือลมหายใจเข้าและออกถือเป็นหนึ่งครั้ง จนถึงคู่ที่ ๕ ก็ให้ตั้งต้นมานับ ๑ ไปใหม่จนถึงเลข ๖ ก็ให้มาตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๗ ถึง ๘ ถึง ๙ และ ๑๐ แล้วตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๕ และนับต่อไปถึง ๑๐ อีก ลองศึกษาดูที่ตารางข้างล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง
แบบนับเป็นคู่พร้อมกับลมหายใจ เช่น (๑-๑) หนึ่งตัวแรกคือลมหายใจครั้งที่ ๑ หนึ่งตัวที่สองคือการนับ

เที่ยวที่ ๑ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕         
เที่ยวที่ ๒ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖         
เที่ยวที่ ๓ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗      
เที่ยวที่ ๔ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘   
เที่ยวที่ ๕ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙   
เที่ยวที่ ๖ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐


อีกแบบหนึ่งคือการนับเดี่ยว นับแต่ตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นลมหายใจเข้าหรือออก แต่ท่านควรจะทำแบบแรกให้คล่องเสียก่อน แล้วจึงมาลองแบบที่สองนี้ ลองศึกษาทำความเข้าใจกับตารางข้างล่างนี้สำหรับการนับเดี่ยว

เที่ยวที่ ๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕         
เที่ยวที่ ๒ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖         
เที่ยวที่ ๓ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗      
เที่ยวที่ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘   
เที่ยวที่ ๕ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙   
เที่ยวที่ ๖ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐


ทั้งสองแบบนี้ใช้วิธีการนับทวนไปทวนมา จนกระทั่งเราเกิดสมาธิ อย่างไรก็ตามขอให้ถือหลักความเพียรเข้าไว้ วันนี้ใจยังว้าวุ่นอยู่ก็ไม่เป็นไร ลองพรุ่งนี้อีกที ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสงบใจให้เชื่องอยู่ใตับังคับบัญชาของเรา และเมื่อนั้นแหละคุณภาพทางจิตและร่างกายของท่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว

แบบนับลมเป็นคู่
วิธีนี้จะง่ายกว่าแบบอรรถกถาข้างต้นเล็กน้อย เพราะว่าให้เริ่มนับไปได้เลย วิธีมีดังนี้คือ
แบบนับตามลม เวลาหายใจเข้า ก็ให้กำหนดลมหายใจที่เข้ามากระทบไว้ที่ปลายจมูก หรือโพรงจมูกด้านใน ตรงที่รู้สึกว่าลมกระทบตรงนั้น แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งในใจ แล้วก็เอาใจตามลมหายใจเข้ามาจนผ่านปอด ให้ความรู้สึกว่าไปสุดปลายที่ท้องเลยทีเดียว ถึงตรงนี้ก็คือถือเป็นสิ้นสุดการหายใจเข้า
เวลาหายใจออก ก็ให้ต้นลมอยู่บริเวณท้องแล้วก็นับหนึ่งใหม่ในใจ พร้อมกับหายใจออก

เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ให้ศึกษาดูจากตารางนี้อีกเที่ยวหนึ่ง

เที่ยวที่ ๑ ๑-๑                  
เที่ยวที่ ๒ ๑-๑ ๒-๒               
เที่ยวที่ ๓ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓               
เที่ยวที่ ๔ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔            
เที่ยวที่ ๕ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕         
เที่ยวที่ ๖ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖         
เที่ยวที่ ๗ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗   
เที่ยวที่ ๘ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘   
เที่ยวที่ ๙ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙
เที่ยวที่ ๑๐ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐

*ตัดตอนบางส่วนมาจากหนังสือสมาธิภาวนา โดยธรรมรักษา

kit007 โพสต์ 2013-7-4 20:17

สมาธิ (สันสกฤต : समाधि)


http://blogs.ummthailand.com/wp-content/uploads/1_61.jpg



คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน

การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้

รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน

ในปี 2007 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐพบว่าเกือบ 9.4% ของผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ล้านคน) มีการฝึกสมาธิภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7.6% (มากกว่า 15 ล้านคน) ในปี 2002

ตั้งแต่ปี 1960, การทำสมาธิได้รับการเพิ่มจุดเน้นของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น โยคะ

Metha โพสต์ 2013-7-5 02:52

ขอบคุณครับ

Sornpraram โพสต์ 2017-10-24 06:55

{:6_200:}{:6_200:}{:6_200:}
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ~ การฝึกสมาธิเบื้องต้น ~