กฎไตรลักษณ์
กฎไตรลักษณ์http://zensiam.com/images/remote/http--i0110.com-zen-feature-zenliterature-01-Being-Being008.jpgไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ ๓ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ หมายถึงลักษณะทั่วไปของสังขตธรรม คือลักษณะที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) และ ปราศจากแก่นสาร (อนัตตา) พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องไตรลักษณ์โดยเริ่มจาก อนัตตา โดยใช้ขันธ์ ๕ เป็นสื่อ ดังใน อนัตตลักขณสูตร (รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปเป็นอัตตา ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ……..ไล่ไปจนครบทุกขันธ์ในขันธ์ ๕)
กฏไตรลักษณ์เป็นมุมมองที่เกี่ยวกับสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้และเหนือโลก ว่ามีลักษณะที่ต้องเป็นไปเหมือนกันทุกประการตอบคำถามที่ว่า
“ชีวิตมีลักษณะอย่างไร”
ไตรลักษณ์มีองค์ประกอบ ๓ อย่างคือ
http://www.96rangjai.com/langka/images/dt1%20(Small).jpg
อนิจจังอนิจจัง ตรงข้ามกับคำว่านิจจังนิจจัง แปลว่า เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรผันอนิจจัง แปลว่าสิ่งไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลง แปรผัน สิ่งที่ประกอบกันเป็นสังขารต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดไม่แตกสลาย คงอยู่เป็นอมต บางครั้งก็ใช้คำว่า อนิจจตา แปลว่า ความไม่เที่ยง อนิจจังเป็นการระบุถึงเบญจขันธ์ ส่วนอนิจจตาเป็นการระบุถึงสภาวะที่ปรากฏแก่เบญจขันธ์ ในพระบาลีขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ท่านแสดงไว้ว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป
ในคัมภีร์อรรถกถาได้แสดงความเป็นเหตุเป็นผลของความเป็นอนิจจังไว้๔ประการด้วยกันคือ
๑. เพราะเป็นไปโดยการเกิด และการสลาย คือเกิดดับ ๆ มีแล้วก็ไม่มี (อุปฺปาทว ยปฺปวตฺติโต)
๒. เพราะเป็นของแปรปรวนคือเปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อย ๆ (วิปริณามโต)
๓. เพราะเป็นของชั่วคราวอยู่ได้ชั่วขณะ ๆ (ตาวกาลิกโต)
๔. เพราะแย้งต่อความเที่ยง คือ สภาวะของมันที่เป็นสิ่งไม่เที่ยงนั้น ขัดกันอยู่เองในตัวกับความเที่ยงหรือโดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัวเมื่อมองดูรู้เห็นตรงตามสภาวะของมันแล้ว ก็จะหาไม่พบความเที่ยง (นิจฺจปฏิกฺเขปโต)
ทุกขังทุกขังคือสภาพที่บีบคั้น ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกสิ่งเมื่อเกิดมาแล้ว ต้องเป็นทุกข์ แตกสลาย คงอยู่สภาพเดิมไม่ได้ โดยลักษณะของความเป็นทุกข์ได้มีจำแนกไว้๔ ประการ และพระเทพเวที (ประยุทธ์ปยุตฺโต) ได้ประมวลเพิ่มเติมมาจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคอีก ๒รวมเป็น ๖ ประการด้วยกันคือ
๑. เพราะบีบคั้นอยู่ตลอดเวลาคือถูกบีบอยู่ตลอดเวลา (อภิณฺหสมฺปติปีฬนโต)
๒. เพราะเป็นสภาพที่ทนได้ยาก คือคงทนอยู่ไม่ไหว ต้องเปลี่ยนสภาพไป (ทุกฺขมโต)
๓. เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ คือเป็นที่รองรับความทุกข์ (ทุกฺขวตฺถุโต)
๔. เพราะแย้งต่อความสุข คือโดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความสุข หรือกีดกั้นความสุขอยู่ในตัว (สุขปฏิกฺเขปโต)
๕. โดยความหมายว่าเป็นของปรุงแต่งคือถูกปัจจัยต่างๆ รุมกัน หรือมาชุมนุมกันปรุงแต่งเอามีสภาพที่ขึ้นต่อปัจจัยไม่เป็นของคงตัว (สงฺขตฏฺ)
๖. โดยความหมายว่าแผดเผาคือในตัวมันเองมีสภาพที่แผดเผาให้กร่อนโทรม ย่อยสลายไป (สนฺตาปฏฺ)
สิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะทั้ง๖ ประการดังกล่าวมาสิ่งนั้นย่อมบ่งบอกว่ามีความเป็นทุกข์เป็นตัวปรากฏชัด
http://www.cmadong.com/imgup/pic5510/cmd121012-194119_565261.jpg
อนัตตาอนัตตา แปลตามศัพท์ว่า ไม่มีตนไม่ใช่ตน (น+อัตตา) เพราะสิ่งทั้งปวงเป็นเพียงสักว่าธรรม หรือสิ่งหนึ่งๆ เท่านั้น คือไม่ใช่สิ่งนั้น และไม่ใช่สิ่งนี้ ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคท่านกล่าวไว้ว่าชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร สรรพสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นแท้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรนอกจากกฎธรรมดา ที่ทำงานไปตามเหตุปัจจัย
ตัวอย่างเช่นเมื่อเราพูดถึงคำว่า น้ำ เราก็จะพบว่า จริงๆแล้วน้ำ ก็เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่เรียกว่า ภาวะที่ไฮโดรเจน ๒ อะตอม บวกกับออกซิเจน ๑อะตอมตัวไฮโดรเจน และออกซิเจนก็จะมีหน่วยย่อยที่เป็นส่วนประกอบอีกเช่นนี้ไปเรื่อยๆโดยที่สุดถ้าเรามองด้วยมุมมองในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเช่นนี้เราจะหาตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ ไม่พบจะพบก็เพียงแต่เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีเพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นเพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มีเพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไปเราจึงสามารถกำหนดความเป็นอนัตตาได้จากข้อกำหนด๔ ประการต่อไปนี้คือ
๑. ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นยืนตัวเป็นแก่นเป็นแกนอยู่
๒. สภาพที่ปรากฏนั้น เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ มากมายประชุมกันปรุงแต่งขึ้น
๓. องค์ประกอบเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว เสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา และสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันประมวลขึ้นเป็นกระบวนธรรม
๔. ถ้ากำหนดแยกออกเป็นกระบวนธรรมย่อย ๆ มากมาย และก็มีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
นอกจากข้อกำหนด ๔ ประการดังกล่าวข้างต้นแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านยังประมวลลักษณะความเป็นอนัตตาไว้ ๔ ประการรวมทั้งที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้ประมวลเพิ่มเติมเข้ามาอีก๒ประการ (ข้อ ๕-๖)รวมทั้งสิ้น๖ ประการด้วยกันคือ
๑. เพราะเป็นสภาพว่างเปล่าคือปราศจากตัวตนที่เป็นแก่น (สุญฺโต)
๒. เพราะเป็นสภาพไร้เจ้าของคือไม่เป็นตัวตนของใคร ๆ (อสฺสามิโก)
๓. เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือไม่อยู่ในอำนาจของใคร ๆ (อวสวตฺตนโต)
๔. เพราะแย้งต่ออัตตาเพราะเป็นกระบวนธรรมที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กัน และดำเนินไปโดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่ที่จะมาแทรกแซงบงการ หรือแม้แต่ขัดขวางความเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้ (อตฺตปฏิปกฺเขปโต)
๕. เพราะเป็นกองแห่งสังขารทั้งหลายล้วน ๆ (สุทฺธสงฺขารปุญฺชโต)
๖. เพราะความเป็นไปตามเหตุปัจจัย (ยถาปจฺจยปวตฺติโต)
หน้า:
[1]