oustayutt โพสต์ 2015-6-1 13:31

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

พระธรรมคุณ ๑๔ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ›››››สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกวัดบวรนิเวศวิหารฒคัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ]บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรมธรรมะเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดูโอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา และ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน ดั่งนี้ได้แสดงอธิบายพระธรรมคุณตั้งแต่บทต้นมาโดยลำดับ จนถึงบทที่ ๕โอปนยิโกควรน้อมเข้ามา และจะได้เริ่มแสดงอธิบายต่อในบทที่ ๖ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน พระธรรมคุณทั้ง ๖ บทนี้ย่อมเป็นพระธรรมคุณของธรรมะทั้งสิ้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วธรรมะที่พระองค์ตรัสแล้วดีทุกข้อทุกบท ย่อมเป็นพระธรรมคุณบทที่ ๑ และย่อมประกอบด้วยอีก ๕ บท ด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่จำเพาะบทใดบทหนึ่ง และพระธรรมที่พระองค์ตรัสดีแล้วนั้น ก็ตรัสชี้ข้อปฏิบัติต่างๆ อันเป็นปฏิบัติธรรม เพื่อผลที่พึงได้พึงถึง ตั้งแต่ในขั้นโลกิยะเกี่ยวกับโลก จนถึงโลกุตรเหนือโลกพ้นโลก คือมรรคผลนิพพานซึ่งเรียกว่าเป็นปฏิเวธ คือเป็นธรรมะที่พึงเจาะแทงด้วยความรู้แจ้ง ที่มักจะใช้เป็นคำแปลของปฏิเวธว่ารู้แจ้งแทงตลอด ก็ล้วนประกอบด้วยพระธรรมคุณทั้งปวงนี้ ฉะนั้นความต่างกันแห่งบทพระธรรมคุณ จึงอยู่ที่พยัญชนะคือถ้อยคำอันเป็นบัญญัติโวหาร ซึ่งอาจที่จะบัญญัติขึ้นกล่าวเป็นภาษาคำพูดได้จำเพาะเจาะจงในแง่หนึ่งมุมหนึ่ง ฉะนั้นจึงต้องใช้กล่าวหลายๆ บท แต่ก็ย่อมมุ่งสู่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน รวมเข้าในพระธรรมคุณเป็นอันเดียวกันและยังมีบทอื่นๆ ที่แม้พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้เอง อันเป็นพระธรรมคุณอีกเป็นอันมาก เช่นที่ตรัสเอาไว้ว่านิยานิโก เป็นธรรมะที่นำออก อุปสมิโก เป็นธรรมะที่นำให้เกิดความสงบรำงับ ปรินิพานิโก เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้น ดั่งนี้เป็นต้น ฉะนั้นพระธรรมคุณ ๖ บทนี้ จึงเป็นพระธรรมคุณที่ยกขึ้นมาแสดง มากล่าวสรรเสริญ มาสวดสาธยายจำเพาะบทที่มีเนื้อความสำคัญๆ เท่านั้น แม้บทอื่นที่ไม่ได้ยกมาแสดง มาสวดสรรเสริญกันใน ๖ บทนี้ จะหาว่าไม่สำคัญก็ไม่ได้ ก็เป็นบทสำคัญด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าก็จำที่จะต้องเลือกมาสำหรับกล่าวเป็นบทสรรเสริญ เป็นบทสวด ตามจำนวนที่เหมาะสมเท่านั้น

oustayutt โพสต์ 2015-6-1 13:32

วิญญู ๓ จำพวกและแม้ในบทที่ ๖ นี้ก็ย่อมมีอยู่ร่วมกับพระธรรมคุณที่แสดงมาข้างต้นทั้งหมด พระธรรมคุณที่แสดงมาข้างต้นทั้งหมดแต่ละบท ก็ย่อมมีร่วมอยู่ในบทอื่นๆ ด้วยกันทั้งหมด เช่นเดียวกันดังที่กล่าวและในบทที่ ๖ นี้ที่เจาะจงไว้ว่า อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตนนั้น ก็มีอธิบายโดยย่อว่า ที่ชื่อว่าวิญญูคือผู้รู้นั้นก็หมายถึง ผู้รู้จำพวกที่เรียกว่า อุคคติตัญญู รู้ธรรมที่เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดง เป็นบุคคลจำพวกที่มีความรู้ไว และเป็นวิญญูคือผู้รู้จำพวกที่รองลงมาคือ วิปจิตัญญูรู้ธรรมต่อเมื่อแสดงอธิบายหัวข้อที่ยกขึ้น กับจำพวกที่รู้ช้าเข้าอันเรียกว่า เนยยะ คือพึงแนะนำได้ คือต้องอธิบายแนะนำหลายครั้งหลายหน อันเป็นบุคคลที่รู้ธรรมทั่วๆ ไป วิญญูคือผู้รู้หมายถึงรู้ธรรม ก็คือรู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๓ จำพวกดังที่กล่าวมา และก็พึงรู้เฉพาะตน คือจะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือจะไปรู้แทนผู้อื่นได้ข้อว่าผู้รู้พึงรู้จำเพาะตนอันผู้รู้พึงรู้จำเพาะตนนี้ก็เป็นหลักธรรมดาทั่วไปของความรู้ ของทุกๆ คน ยกตัวอย่างเช่น ความรู้ที่ได้จากการเรียน เช่นเรียนหนังสือเรียนวิทยาการต่างๆ ทุกๆ คนก็ต้องเรียนเอง ต้องศึกษาเองจึงจะรู้ ตั้งแต่เด็กๆ เป็นต้นมา ฉะนั้นผู้ปกครองเช่นมารดาบิดาจึงต้องส่งลูกหลานเข้าโรงเรียน ลูกหลานนั้นก็ได้รับอุปการะด้วยเสื้อผ้า ตำราเรียนเครื่องเรียน อาหารเป็นต้น จากมารดาบิดาผู้อุปการะทั้งหลาย แต่ก็ต้องเรียนเอง มารดาบิดาผู้อุปการะทั้งหลายจะเรียนแทนให้ไม่ได้ เด็กทุกคนต้องเรียนเอง ฉะนั้นแม้ความรู้ทั่วๆ ไป ศิลปวิทยาการทั่วๆ ไปก็ต้องรู้จำเพาะตนดังที่กล่าว และเมื่อเรียนรู้แล้วจะไปยกเอาความรู้ที่ตนเรียนมานั้นให้แก่ผู้อื่นก็ไม่ได้ ผู้อื่นเมื่อต้องการจะรู้ก็ต้องเรียนเอง ต้องศึกษาเอง ด้วยการอ่านการฟัง การคิดพินิจพิจารณา และการปฏิบัติต่างๆ ด้วยตนเองของทุกๆ คน จึงจะรู้ได้ในสิ่งที่ต้องการรู้นั้นๆ แม้ในขั้นปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะรู้ในธรรมะที่ปฏิบัตินั้น ในสิ่งที่ปฏิบัตินั้นแม้ในการปฏิบัติทั่วๆ ไปที่เป็นสามัญก็เป็นเช่นนั้น เช่น การที่จะใช้มือปฏิบัติ เช่นเขียนหนังสือก็ต้องหัดมือให้เขียนหนังสือ และเมื่อหัดมือให้เขียนหนังสือมือข้างไหนที่หัดไว้ก็เขียนได้ แต่มือข้างที่ไม่หัดก็เขียนไม่ได้ เช่นหัดเขียนหนังสือด้วยมือขวา หัดมือขวาเขียนหนังสือ ก็ใช้มือขวาเขียนได้ แต่ครั้นมาใช้มือซ้ายเขียนหนังสือ มือซ้ายไม่ได้หัดไว้ก็เขียนไม่ได้เหมือนอย่างมือขวา เพราะฉะนั้น แม้ในการปฏิบัติของอวัยวะร่างกายก็ต้องอาศัยการฝึกหัดปฏิบัติกระทำ และก็กระทำได้จำเพาะเหมือนกัน แม้แต่มือก็ทำได้จำเพาะมือที่หัด มือที่ไม่หัดก็ทำไม่ได้ ยิ่งเป็นการปฏิบัติที่ละเอียดขึ้นก็จะต้องฝึกหัดให้ยิ่งขึ้น และก็ทำได้จำเพาะตน จำเพาะตน หรือจำเพาะที่ปฏิบัตินั้นอีกเหมือนกันการเรียนรู้ก็เพื่อปฏิบัติการเรียนให้รู้ก็เพื่อปฏิบัติ ถ้าหากว่าไม่ปฏิบัติก็ไม่บังเกิดเป็นผลขึ้นมาในทุกๆ อย่าง ทั้งในทางคดีโลกและทั้งในทางคดีธรรม ในทางคดีโลกก็เช่นว่า เรียนรู้การไสไม้ เป็นช่างไม้ แต่ว่าไม่ฝึกปฏิบัติด้วยมือในกิจการช่าง เช่นการไส การตัด การเจาะ เป็นต้น เพียงแต่เรียนรู้อย่างเดียว ก็ทำไม่ได้ สิ่งต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในโลก ก็บังเกิดขึ้นจากการฝึกหัดกระทำขึ้น และก็ด้วยการลงมือกระทำทั้งนั้น แม้แต่ในการหุงข้าวต้มแกง แม้ว่าเรียนรู้วิธีหุงข้าวต้มแกง แต่ไม่ลงมือหุงข้าวต้มแกงด้วยตัวเองก็ทำไม่ได้ เรียนรู้ในวิธีที่จะขับขี่รถจักรยานแต่ไม่ฝึกหัดขับขี่ด้วยตัวเองก็ขับขี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติก็ย่อมรู้ในสิ่งที่ตนปฏิบัตินั้นมาถึงธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วก็เช่นเดียวกัน ทีแรกก็ต้องเรียนเพื่อรู้ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนอย่างไร แม้เรียนเพื่อรู้ดังกล่าวนี้ก็ต้องเรียนด้วยตัวเอง เช่นต้องตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจอ่านหนังสือธรรม ตั้งใจท่องบ่นจำทรง ตั้งใจเพ่งพินิจพิจารณา และขบเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็นอันได้แก่ทำความเข้าใจในธรรมะที่ฟังนั้น เหล่านี้ก็ต้องเรียนรู้ดังกล่าวด้วยตัวเอง เรียนแทนกันไม่ได้ หรือเรียนให้กันไม่ได้ และเมื่อเรียนรู้แล้ว ถ้าเพียงเรียนรู้อย่างเดียวธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั้น ก็คงตั้งอยู่ในความจำ ในความเข้าใจ ไม่บังเกิดเป็นธรรมะทางปฏิบัติขึ้นมา ไม่เป็นศีล ไม่เป็นสมาธิ ไม่เป็นปัญญาขึ้นมา เหมือนอย่างว่าเรียนรู้วิธีสร้างบ้าน สร้างเรือน แต่ว่าไม่ทำการสร้างบ้านสร้างเรือนขึ้นมา ก็ไม่เกิดเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมา ทุกๆ อย่างก็เช่นเดียวกันการปฏิบัติอันเรียกว่าภาวนาเพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปฏิบัติอันเรียกว่าภาวนา คือการทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นมา นี้คือปฏิบัติ ทำศีลให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ทำสมาธิให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ทำปัญญาให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ที่กายวาจาใจหรือจิตของตนเอง เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นธรรมะปฏิบัติขึ้นมา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี้จึงมีคำเรียกว่าภาวนา ไม่ใช่หมายถึงว่าการระลึกถึงด้วยใจ หรือเปล่งวาจาสวดบทพุทธมนต์ต่างๆ เป็นต้น ดังที่เข้าใจกันโดยมาก เรียกกันโดยมากแต่ว่าภาวนานี้หมายถึงว่าทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือทำศีลสมาธิปัญญาให้มีขึ้น ให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญาขึ้น ให้เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาขึ้นมาดังที่กล่าว และเมื่อได้ปฏิบัติดั่งนี้ก็ย่อมรู้จำเพาะตนที่ตนเอง ว่าตนได้ปฏิบัติมีหรือเป็นขึ้นมาอย่างไร และเมื่อได้รับผลของการปฏิบัติควบคู่ไปกับการปฏิบัติดังที่เคยแสดงมาแล้วตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงขั้นสูงสุดอันเรียกว่าปฏิเวธรู้แจ้งแทงตลอด ขั้นสูงสุดก็เป็นขั้นมรรคผลนิพพาน ก็รู้จำเพาะตนอีกเช่นเดียวกัน(เริ่ม ๑๑๑/๑) แต่ว่าข้อที่ว่าอันวิญญูชนพึงรู้จำเพาะตนนี้ ไม่ได้หมายถึงว่าบอกกล่าวผู้อื่นไม่ได้ ก็บอกกล่าวผู้อื่นได้ดังเช่นพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว ก็ได้ทรงแสดงธรรมะที่ตรัสรู้สั่งสอน แต่ก็ทรงสั่งสอนได้ในธรรมะ ที่ควรสั่งสอนให้รู้แจ้งเห็นจริง ทรงแสดงเหตุผลที่อาจตรองตามเห็นจริงได้ และก็ทรงแสดงมีปาฏิหาริย์ คือเป็นจริงทุกอย่าง และผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัติได้จริง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงสั่งสอนได้ดั่งนี้ จึงเกิดเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วแต่ในการบอกนั้นก็คือบอกทางปฏิบัติ เพื่อว่าผู้ฟังจะพึงรู้ทางที่ทรงบอก และปฏิบัติด้วยตนเองอีกเช่นเดียวกัน เพื่อให้รู้ธรรมะที่ตรัสสอนนั้นด้วยตัวเอง จึงจะเป็นผลที่ตนได้รับ ถ้าหากว่าไม่เดินไปตามทางที่ทรงสั่งสอนนั้น ก็ไม่ได้บรรลุถึงธรรมะที่ทรงสั่งสอน ไม่เห็นแจ้งธรรมะที่ทรงสั่งสอน เพราะ

majoy โพสต์ 2015-6-2 00:43

{:6_196:}{:6_196:}{:6_196:}

Sornpraram โพสต์ 2015-11-20 06:05

{:6_200:}{:6_201:}{:6_202:}
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ