ปฏิสัมภิทาญาณ
-ปฏิสัมภิทาญาณ 4-ปัญญาแตกฉาน มี 4 คือ.-1.อัตถปฏิสัมภิทา-ปัญญาแตกฉานในอรรถ2.ธัมมปฏิสัมภิทา-ปัญญาแตกฉานในธรรม3.นิรุตติปฏิสัมภิทา-ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษาต่างๆ4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา-ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปฎิสัมภิทาญาณ ถูก วิปันสนูกิเลศครอบงำ
ปฎิสัมภิทาญาณ เมื่อได้แล้ว กำหนดจิตพิจารณาข้อธรรมข้อใด ได้อย่างแตกฉาน
กำหนดรู้ความเป็นไปของบุคคลอื่นได้ จนผู้ปฎิบัติบ้างท่านหลงคิดว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว
ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นหลายองค์ในปัจจุบัน บ้างท่านถูกวิปันสนูปกิเลศ เข้าครอบงำ ยิ่งหลงทางปิดกั้นธรรมชั้นสูงต่อไป
พระหรือนักปฎิบัติที่ได้ ปฎิสัมภิทาญาณ และถูก วิปันสนูกิเลศครอบงำ เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก
เพราะอาจจะนำพาหมู่คณะญาติโยมหลงผิดตามคำสอนของตนเองได้
นักปฎิบัติเป็นเภทนี้.. มีปฎิสัมภิทาญาณ ที่สามารถกำหนดรู้ได้ เมื่อทัก ทายใจถูกทำให้สร้างศรัทธาได้เป็นอย่างดี
เมื่อบุคคลทั้งหลายปักใจเชื่อแล้วปฎิบัติตาม จึงยิ่งพากันหลงทาง ชนิดหาทางกลับไม่เจอ
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง
มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว นี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง จึงทำให้จิตเกิดวิปลาสเหม่อลอย ไม่มีสติควบคุมจิตของตัวเองได้เลย ที่เรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นบ้านไปก็เป็นในลักษณะนี้ก็เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญาเป็นองค์ประกอบรอบรู้เอาไว้ ถ้าทำสมาธิมีความจริงจังมากเท่าไรก็จะเพิ่มวิปลาสมากขึ้นเท่านั้น สติปัญญาไม่มี อาการของวิปัสสนูปกิเลสก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นที่ใจ ดังจะได้อธิบายเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ ที่มีความสงบอย่างผิด ๆ ให้ผู้ทำสมาธิรับรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ข้อคิดสังเกตดูตัวเองว่า เมื่อทำสมาธิไปแล้วมีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าผิดไปก็จะได้แก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์
•โอภาส เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้ ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง
•ปีติ ผู้ทำสมาธิจะมีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างมากมีความเบิกบานใจอยู่ตลอดเวลา จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในอิริยาบถไหนใจจะมีความเอิบอิ่มอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ในช่วงนั้นมีแต่เฝ้าดูจิตที่มีความเอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ ความคิดทางสติปัญญาจะพิจารณาในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็หมดสภาพไป ใจมีแต่ความเพลิดเพลินอยู่กับปีตินั้น ๆ
•ปัสสัทธิ ความสงบใจที่เป็นผลจากการทำสมาธิจะมีความสงบเป็นอย่างมาก จะมีความแน่วแน่มั่นคงอย่างแนบแน่นทีเดียว ใจไม่คิดวอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์แต่อย่างใด จะเป็นอารมณ์แห่งความรักหรืออารมณ์แห่งความชัง เนื่องจากสาเหตุอันใดก็ตามไม่มีความอยากคิดในเรื่องอะไรทั้งนั้น จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในที่ไหนมีแต่ความสงบใจอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เป็นโมหสมาธิหลงอยู่ในความสุขจนลืมตัว ไม่อยากคิดพิจารณาให้เป็นไปในการเจริญทางสติปัญญาแต่อย่างใด เพราะกลัวว่าใจจะเกิดความฟุ้งซ่าน มีแต่ใช้สติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ๆ จึงเป็นสมาธิที่โง่เขลาหาความฉลาดไม่ได้เลย
•สุขะ เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วย่อมเกิดความสุขภายในใจเป็นอย่างมาก จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในที่ไหนใจจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา ถือว่าใจมีความสุขแล้ว อยากให้ความสุขนี้อยู่เป็นคู่ของใจตลอดไปไม่อยากให้เสื่อมคลาย นี้เองผู้ปฏิบัติในยุคนี้จึงมีความต้องการภาวนาหาความสุขใจเพียงเท่านั้น ที่สอนกันว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจถ้าปัญญาไม่มีก็จะหลงความสุขได้
•ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป้ฯคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข
•อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที
•ปัคคาหะ มีความเพียรที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ความเพียรนั้นจะมุ่งทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว จะไปที่ไหนอยู่ในที่ใดจะปรารภความเพียรทำสมาธิอยู่เสมอ จะอยู่เฉพาะตัวหรือในสังคมใดจะอยู่ในความสำรวมผิดปกติ จะอยู่แบบนิ่งเฉยไม่อยากจะพูดคุยกับใคร ๆ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หรือลืมตาก็จะอยู่ในท่าเงียบขรึมซึมเซ่อเหม่อลอย ไม่ชอบอยู่ในสังคมอยากจะอยู่เป็นเอกเทศเฉพาะตัว ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในทางปัญญาแต่อย่างใด จึงเรียกว่า มิจฉาวายานะ เป็นความผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•อุปัฏฐาน มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•อุเบกขา ความวางเฉยในทางใจได้ดีมาก ใจไม่รับในอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อะไรที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นสิ่งที่จะให้เกิดความรักความชัง ใจจะวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเมื่อใจลงสู่อุเบกขาความวางเฉยที่มั่นคงแล้ว จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ ไม่มีความเอาใจใส่ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำสมาธิได้ง่าย แต่ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิดต่อไป จึงยากที่จะแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้เลย
•นิกันติ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง
ผู้ทำสมาธิถ้าไม่กำจัดตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดออกจากใจได้ เมื่อทำสมาธิเพิ่มเข้าไปกำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิ ก็จะไปบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด แล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ได้อธิบายมาแล้ว
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2015-3-30 07:13
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง
http://baanjompra.com/webboard/forum.php?mod=viewthread&tid=7578&pid=79599&page=1&extra=#pid79599
มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว นี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง จึงทำให้จิตเกิดวิปลาสเหม่อลอย ไม่มีสติควบคุมจิตของตัวเองได้เลย ที่เรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นบ้านไปก็เป็นในลักษณะนี้ก็เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญาเป็นองค์ประกอบรอบรู้เอาไว้ ถ้าทำสมาธิมีความจริงจังมากเท่าไรก็จะเพิ่มวิปลาสมากขึ้นเท่านั้น สติปัญญาไม่มี อาการของวิปัสสนูปกิเลสก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นที่ใจ ดังจะได้อธิบายเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ ที่มีความสงบอย่างผิด ๆ ให้ผู้ทำสมาธิรับรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ข้อคิดสังเกตดูตัวเองว่า เมื่อทำสมาธิไปแล้วมีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าผิดไปก็จะได้แก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์
•โอภาส เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้ ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง
•ปีติ ผู้ทำสมาธิจะมีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างมากมีความเบิกบานใจอยู่ตลอดเวลา จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในอิริยาบถไหนใจจะมีความเอิบอิ่มอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ในช่วงนั้นมีแต่เฝ้าดูจิตที่มีความเอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ ความคิดทางสติปัญญาจะพิจารณาในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็หมดสภาพไป ใจมีแต่ความเพลิดเพลินอยู่กับปีตินั้น ๆ
•ปัสสัทธิ ความสงบใจที่เป็นผลจากการทำสมาธิจะมีความสงบเป็นอย่างมาก จะมีความแน่วแน่มั่นคงอย่างแนบแน่นทีเดียว ใจไม่คิดวอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์แต่อย่างใด จะเป็นอารมณ์แห่งความรักหรืออารมณ์แห่งความชัง เนื่องจากสาเหตุอันใดก็ตามไม่มีความอยากคิดในเรื่องอะไรทั้งนั้น จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในที่ไหนมีแต่ความสงบใจอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เป็นโมหสมาธิหลงอยู่ในความสุขจนลืมตัว ไม่อยากคิดพิจารณาให้เป็นไปในการเจริญทางสติปัญญาแต่อย่างใด เพราะกลัวว่าใจจะเกิดความฟุ้งซ่าน มีแต่ใช้สติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ๆ จึงเป็นสมาธิที่โง่เขลาหาความฉลาดไม่ได้เลย
•สุขะ เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วย่อมเกิดความสุขภายในใจเป็นอย่างมาก จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในที่ไหนใจจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา ถือว่าใจมีความสุขแล้ว อยากให้ความสุขนี้อยู่เป็นคู่ของใจตลอดไปไม่อยากให้เสื่อมคลาย นี้เองผู้ปฏิบัติในยุคนี้จึงมีความต้องการภาวนาหาความสุขใจเพียงเท่านั้น ที่สอนกันว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจถ้าปัญญาไม่มีก็จะหลงความสุขได้
•ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป้ฯคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข
•อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที
•ปัคคาหะ มีความเพียรที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ความเพียรนั้นจะมุ่งทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว จะไปที่ไหนอยู่ในที่ใดจะปรารภความเพียรทำสมาธิอยู่เสมอ จะอยู่เฉพาะตัวหรือในสังคมใดจะอยู่ในความสำรวมผิดปกติ จะอยู่แบบนิ่งเฉยไม่อยากจะพูดคุยกับใคร ๆ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หรือลืมตาก็จะอยู่ในท่าเงียบขรึมซึมเซ่อเหม่อลอย ไม่ชอบอยู่ในสังคมอยากจะอยู่เป็นเอกเทศเฉพาะตัว ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในทางปัญญาแต่อย่างใด จึงเรียกว่า มิจฉาวายานะ เป็นความผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•อุปัฏฐาน มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•อุเบกขา ความวางเฉยในทางใจได้ดีมาก ใจไม่รับในอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อะไรที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นสิ่งที่จะให้เกิดความรักความชัง ใจจะวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเมื่อใจลงสู่อุเบกขาความวางเฉยที่มั่นคงแล้ว จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ ไม่มีความเอาใจใส่ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำสมาธิได้ง่าย แต่ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิดต่อไป จึงยากที่จะแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้เลย
•นิกันติ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง
ผู้ทำสมาธิถ้าไม่กำจัดตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดออกจากใจได้ เมื่อทำสมาธิเพิ่มเข้าไปกำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิ ก็จะไปบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด แล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ได้อธิบายมาแล้ว
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2015-4-28 08:44
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2015-3-30 07:00
ปฎิสัมภิทาญาณ ถูก วิปันสนูกิเลศครอบงำ
ครับท่านจึงสั่งทุบพระเครื่องทิ้ง เพราะจิตที่รู้เพ่งไป
ก็เห็นเป็นเพียงธาตุ เป็นหินดินทราย
เป็นโลหะทองเหลืองทองแดง หาใช่พระพุทธองค์ไม่
แต่ท่านลืมธรรมข้อนี้ไปหรือป่าว ???
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สมมุติบัญญัติ คือ ..
สิ่งไม่มีลักษณะของสภาพธรรม แต่ เป็น เรื่องราว ที่เกิดจาก
การคิดนึก สมมติ บัญญัติขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีได้เพราะอาศัยสภาพธรรมที่มีจริงเกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่นขณะที่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ ขณะนั้น เป็นสมมติบัญญัติแล้ว เป็นเรื่อง
ราว ที่เป็นสัตว์ บุคคล สิ่งต่าง ๆ บัญญัติว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นต้น แต่เพราะอาศัย
สภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก ที่มีการเห็นเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตา จิตคิดนึก ใน
สีนั้น ปรากฎเป็นรูปร่าง สัณฐาน เป็นเรื่องราวเป็นสัตว์ บุคคล สิ่งต่าง ๆ ครับ และ
ขณะแม้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ มีการคิดนึกในเรื่องต่าง ๆ ขณะนั้นก็เป็นการคิดนึกใน
สมมติบัญญัติ เรื่องราวต่าง ๆ ที่เคยทรงจำไว้ ว่า เป็น สิ่งนั้น สิ่งนี้ แม้ที่จริง ไม่ได้
มีลักษณะที่มีจริง แต่เป็นการคิดในเรื่องราว ที่สมมติ บัญญัติขึ้นในขณะที่คิดนึก ครับ
สมมติ บัญญัติ จึงไม่พ้นจากชีวิตประจำวันที่เป็นไปเพราะ ไม่มีปัญญา จึงถูก
สมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ ไม่ให้รู้ว่าแท้ที่จริง เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งหนทาง
การอบรมปัญญา คือ การเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียง
ธรรม และ เข้าใจถูกว่า เรื่องราว สมมติ บัญญัติไม่มีจริง ก็จะไถ่ถอนความยึดถือด้วย
ความเห็นผิดว่า เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ครับ ขออนุโมทนา
{:5_166:}{:5_166:}{:5_166:} {:6_196:}{:6_196:}{:6_196:} สาธุ....{:6_196:} {:6_201:} {:6_200:}
หน้า:
[1]